TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ยับยั้งความเร็วแบบชั่วคราว บริเวณเขตโรงเรียน : กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
THE APPLICATION OF TEMPORARY TRAFFIC CALMING DEVICES AT SCHOOL ZONE: A CASE STUDY IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
บทคัดย่อ (ไทย) จานวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นของประเทศไทยในแต่ละปี ส่งผลต่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเป็นจานวนมาก รวมทั้งสูญเสียบุคลากรที่เป็นปัจจัยสาคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอุบัติเหตุบริเวณเขตโรงเรียนซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนสูง เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใช้ถนน ทางข้ามและทากิจกรรมต่าง ๆ บริเวณหน้าโรงเรียนหรือสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จึงได้ทาการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุและความปลอดภัยบริเวณโรงเรียนโดยจะมุ่งเน้นที่เขตบริเวณหน้าโรงเรียนเป็นสาคัญการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ยับยั้งความเร็วแบบชั่วคราวที่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยยับยั้งและควบคุมความเร็ว รวมถึงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอุปกรณ์แต่ละรูปแบบจานวนทั้งสิ้น 2 รูปแบบ ประกอบไปด้วย กรวยจราจร กรวยจราจรพร้อมด้วยไฟกระพริบ ซึ่งผลการศึกษาการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ช่วยยับยั้งความเร็วแบบชั่วคราวดังกล่าว พบว่าสามารถทาให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์มีความเร็วลดลงอย่างมีนัยสาคัญอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่ชนบท สามารถนาอุปกรณ์ยับยั้งความเร็วแบบชั่วคราวไปประยุกต์ใช้ได้ ทาให้การสัญจรของคนเดินเท้าและยานพาหนะบริเวณหน้าโรงเรียนมีการเดินทางที่สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Increasing number of accidents in Thailand each year has caused significant effects to economic disaster and the loss of human resources that are essential to national development, especially accidents in school zones indicated as the areas that have the higher trends to accidents for road users because the majority of pedestrians using the street crossings and doing activities at school front are students. Based on this rationale, the study related to accident reduction and safety at school zones was carried out by focusing on school front areas. The application of temporary traffic calming devices in compliance with traffic engineering standards would be recognized as an alternative approach to achieve a calm driving and control the speed. As well, the study includes the comparison of the efficiency between two types of temporary traffic calming devices including traffic cone and traffic cone with warning light. The results found that the devices significantly and efficiently reduce the speeds of cars and motorcycles. In addition, the study prototype might be useful for other schools in rural areas by applying the Temporary Traffic Calming Devices leading to provide convenient, fast, and safe travel for pedestrians and vehicles at school front.
ผู้แต่ง สวลี อุตรา
วัฒนวงศ์
รัตนวราห
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2013
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2556
สัมมนา ประชุมวิชาการ การขนส่งแห่งชาติ
ครั้งที่ : 8
จำนวนหน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ ความปลอดภัยบริเวณโรงเรียน; อุปกรณ์ยับยั้งการจราจร; กรวยจราจร
หมวดหมู่ การใช้ความเร็ว; เครื่องหมายและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย; ประสิทธิภาพของมาตรการด้านวิศวกรรม
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 27 สิงหาคม 2557