TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การประเมินความปลอดภัยของโครงการปรับปรุงเกาะกลางถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงหมายเลข 407 ตอน คลองหวะ – สงขลา กม.16+600 ถึง กม.21+000
Assessment of Road Safety of Improvement of the Road Medians Project A Case Study of Highway No. 407 Khong Wa - Songkhla Section Sta. 16+600 to Sta. 21+000
บทคัดย่อ (ไทย) เกาะกลางถนนได้ถูกออกแบบและติดตั้งบนทางหลวง เพื่อแบ่งแยกทิศทางการจราจรสำหรับทางหลวงทีมีช่องจราจร 4 ช่องขึ้นไป ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 เป็นเส้นทางสายหลักที่ต่อเชื่อมการคมนาคมและขนส่ง ระหว่างเมืองสงขลากับเมืองหาดใหญ่ ระยะทาง 26.00 กม. ก่อนหน้านี้มีเกาะกลางถนนเป็ นแบบเกาะสีกว้าง 1.60 ม. ซึ่งไม่สามารถป้ องกันการแซงที่ผิดกฎหมายของยานพาหนะทั้งสองทิศทาง เป็ นผลทำให้เกิดอุบัติเหตุในลักษณะการชนประสานงากัน กรมทางหลวงได้ตระหนักถึงปัญหาและได้ดำเนินการเปลี่ยนเกาะกลางดังกล่าวจากเกาะสีเป็นเกาะคอนกรีตเป็นระยะทาง 4.40 กม. มี 2 รูปแบบ คือ 1) แบบกำแพงคอนกรีต (Concrete Barrier) และ 2) แบบยกขึ้น (Raised Median)บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพความปลอดภัยของช่วงถนนทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง ประเมินประสิทธิผลของเกาะกลาง ความคุ้มค่าและรวมถึงการค้นหาบริเวณอันตรายบนช่วงทางหลวงดังกล่าว ในการศึกษาคณะวิจัยทำการประเมินประสิทธิผลความปลอดภัยของเกาะกลางในภาคสนาม และใช้ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุก่อนและหลังการ ปรับปรุงเป็ นตัววัดผลตอบแทนด้านความคุ้มค่าและกำหนดบริเวณอันตราย จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ปัญหาความปลอดภัยบนทางหลวงในช่วงดังกล่าวที่ควรแก้ไขในอันดับต้นๆ มีดังนี้ 1) บริเวณทางแยกคือ จุดเปิดกลับรถทีอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับทางแยกทำให้เกิดปัญหาการขัดแย้งของกระแสจราจร 2) การระบายน้ำ ไม่มีการดูแลระบบระบายน้ำเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดน้ำท่วมขังและไหลผ่านบนผิวจราจร จากปัญหาความปลอดภัยที่พบจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขและปรับปรุงทางหลวงที่ปลอดภัยขึ้น ส่วนเรืองความคุ้มค่าของโครงการและประสิทธิผลของเกาะกลางยังอยู่ในระหว่างการวิเคราะห
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The road median was designed and installed on the highway in order to separate opposing lanes of traffic for 4 or multiple lanes. The highway No. 407, 26.00 km. in length, is the main road that links the city of Songkhla and Hatyai city. In the past, the highway median was constructed using painted medians with 1.6 m width that could not prevent illegal passing of vehicles for both directions. These led to many traffic accidents including many head on collisions. The Department of Highways is extremely concerned about these problems and replace these painted medians with concrete medians which are divided, 4.40 km in length, to 2 types ; 1) concrete barrier and 2) raised median. The aim of this paper is to assess the road safety for both stages of before and after improvement. In the study, researchers evaluated the safety effectiveness of the medians and used accident data before and after the improvement, identified hazardous road locations, and also, calculated the cost effectiveness of the medians. Problems identified include : 1) intersections near the U-turn, there were more traffic conflict. 2) the drainage system was not well maintained, to a performance, these was thick film of water on the road and the water also flew across the road surface. The results of this study would be used to improve the safety of the highway. The cost effectiveness of the project is being evaluated.
ผู้แต่ง ชัยยุทธ์ ศรีสุด
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2014
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2557
สัมมนา การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ
ครั้งที่ : 19
จำนวนหน้า 7 หน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ ประเมินความปลอดภัย; เกาะกลางถนน; การชนประสานงา
หมวดหมู่ การประเมินระดับความปลอดภัยของถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 10 ตุลาคม 2557