TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยบริเวณทางแยกในเขตชุมชนเมือง ด้วยแนวคิดทางแยกแบบทางเลือก: กรณีศึกษาทางแยกแบบหูกระต่าย
Improving Efficiency and Safety of Urban Intersections using Alternative Intersection Design Concept: A Case Study of Bowtie Intersection
บทคัดย่อ (ไทย) การจัดสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยกบนทางหลวงสายหลักในจังหวัดเชียงใหม่มักดาเนินการด้วยระบบสัญญาณไฟแบบ Split ซึ่งสัญญาณไฟเขียวถูกจัดเป็นจังหวะให้แต่ละทิศทาง การจัดสัญญาณไฟแบบนี้ต้องการรอบสัญญาณไฟที่ยาว ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้า และความยาวของแถวคอยที่ยาวในแต่ละทิศทาง และเป็นอุปสรรคต่อกระแสจราจรโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางสายหลักที่มีการจราจรความเร็วสูง ซึ่งขาดระบบการประสานสัมพันธ์ที่เหมาะสม งานวิจัยนี้ได้ศึกษาแนวความคิดการออกแบบทางแยกแบบทางเลือก ซึ่งสามารถลดรอบสัญญาณไฟให้สั้นลงโดยเปลี่ยนสัญญาณไฟจากระบบสี่เฟสเป็นสองหรือสามเฟส การศึกษานี้มุ่งเสนอแนวคิดการออกแบบทางแยกแบบหูกระต่าย (Bowtie Intersection) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและความปลอดภัยบริเวณทางแยก ทางแยกแบบหูกระต่ายนั้นจะออกแบบติดตั้งวงเวียนขนาดเล็กบนทางสายรองเพื่อรองรับการเปลี่ยนเส้นทางของรถเลี้ยวขวาจากทางสายหลัก รถมาจากทางสายหลักที่จะเลี้ยวขวาจะต้องเลี้ยวซ้ายบริเวณทางแยกและไปกลับรถที่วงเวียนขนาดเล็ก การศึกษานี้ได้ทดสอบแนวคิดแบบทางเลือกนี้ด้วยแบบจาลองการจราจร โดยประยุกต์ใช้กับทางแยกบนทางหลวงหลักสี่ช่องจราจรพร้อมเกาะกลาง ที่มีปริมาณการจราจรสูงและความเร็วสูงในเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษานี้ได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพการจราจรและความปลอดภัยระหว่างทางแยกแบบทางเลือกใหม่กับทางแยกแบบดั้งเดิม โดยพิจารณาทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ ทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรแบบ Split สี่เฟส ทางแยกแบบหูกระต่ายที่ใช้สัญญาณไฟสองเฟส และทางแยกแบบหูกระต่ายที่ใช้สัญญาณไฟสามเฟส ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ภายใต้สภาพการจราจรที่ทาการสารวจ ทางแยกแบบหูกระต่ายสามารถลดเวลารอบสัญญาณไฟลงร้อยละ 30-40 และปรับปรุงความล่าช้าและระดับการให้บริการบริเวณทางแยก [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Typical traffic signals at major urban intersections in Chiang Mai are operated in split phasing design; a green phase is given for all vehicle movements of one direction at a time. This signal operation requires long cycle length; as a result, it induces very long travel delay and queue length for all approaches and increases traffic disturbance particularly on high-speed major traffic flows where signalized intersections are not properly coordinated. This study explores alternative intersection design concepts to reduce the signal cycle length of the intersections by converting the signal timing from 4-phase operation to 2- or 3-phase operation. The study presents one possible solution concept; it is called a “Bowtie Intersection” design in which deploys two roundabouts at both sides of the minor road to re-route the major-road right-turn traffic. The right-turn traffic from major roads maneuvers through the intersection by making left-turn followed by making U-turn at the roundabout. The ideas were tested in a simulated environment at the real-world major intersection on a high-speed, heavy-traffic, four-lane divided highway in Chiang Mai. To compare the operational and safety benefits of the proposed design, four scenarios of intersection controls were evaluated: unsignalized intersection, split-phasing signalized intersection, bowtie intersection (with 2-phase signal), and relaxed bowtie intersection (with 3-phase signal). Preliminary analyses show that under the given t [+]
ผู้แต่ง อรรถวิทย์ อุปโยคิน
ทศพล
หรรษานนท์
นพดล
กรประเสริฐ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2014
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2557
สัมมนา ประชุมวิชาการ การขนส่งแห่งชาติ
ครั้งที่ : 9
จำนวนหน้า 6 หน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ Signalized Intersection; Bowtie Intersection; Alternative Intersection Design; Traffic Simulation
หมวดหมู่ การออกแบบถนนอย่างปลอดภัย; ประสิทธิภาพของมาตรการด้านวิศวกรรม
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 01 สิงหาคม 2558