TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ระบบตรวจจับอาการง่วงนอนจากสายตาโดยการใช้การประมวลผลภาพ
Eye Analysis for Drowsiness Detection
บทคัดย่อ (ไทย) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการตรวจจับอาการง่วงนอนจากสายตาขณะขับรถ โดยใช้การประมวลผลภาพเป็นหลัก ทั้งนี้อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนสำคัญหนึ่งมาจากการขับรถขณะง่วงนอน ซึ่งถ้าลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลักษณะนี้ลงได้ จะลดการสูญเสียทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก โครงการวิจัยนี้ได้เลือกใช้การตรวจจับภาพจากกล้องว็ปแคมที่มีราคาถูกและมีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยระบบจะเริ่มจากการหาใบหน้า จากนั้นจึงตรวจจับดวงตา และคำนวณหาสัดส่วนของตาดำเทียบกับดวงตา และนำค่าสัดส่วนที่ได้เทียบกับข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนในฐานข้อมูล เมื่อระบบตรวจจับลักษณะของการง่วงนอนอันได้แก่ ระยะเวลาในการหลับตานานเกินค่ามาตราฐาน หรืออาการตาค้างหรือไม่กระพริบตาเป็นระยะเวลานาน ระบบจะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ได้รับทราบ การทดสอบระบบจะมีทั้งการเปลี่ยนแปลงผู้ทดสอบ สภาพอาการง่วงนอน เละสภาพของแสงเพื่อเปรียบเทียบอัตราความแม่นยำที่ได้ โดยมีความแม่นยำเฉลี่ยเกินกว่า 90 %
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The objective of this project is to alertness of human drivers from eyes conditions by camera monitoring system. According to accident statistics, drowsiness is one of the causes of car accident. Lower this kind of accident will help all of the society and economic from lost. This research base on camera monitoring system due to the camera is low-cost equipment and generally used. The system relies on track a person’s head and facial features. After that detects eye condition and compare the pupil with the eye, then calculate the proportion of the pupil and the eye. The proportion will be compared with each driver’s database. When the system analyze drowsiness of the driver, this will be analyze from eye closure (compare with standard value), or eye blinking (no blinking), it will alert the driver. For the test period of the system, there will be some changes such as driver, drowsiness, and light condition to estimate the accuracy of the system. The correctness of the condition identification is more then 90%.
ผู้แต่ง อาทิตย์ คงธนญาดา
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภาควิชา และคณะ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เเละโทรคมนาคม
รูปแบบผลงาน บัณฑิตวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2011
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2554
จำนวนหน้า 91 หน้า
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ อาการง่วงนอน ; การประมวลผลภาพ ; การรู้จำใบหน้า ; อุบัติเหตุจากรถยนต์
หมวดหมู่ ความอ่อนล้าหรือง่วงนอน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 17 ธันวาคม 2558