TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัยโดยทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
A STUDY OF FACTORS AFFECTING INTENTION OF HELMET USE : AN APPLICATION OF THE THEORY OF HEALTH BELIEF MODEL
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการสวมใส่หมวกนิรภัยสําหรับรถจักรยานยนต์ในบริบทของประเทศไทย เพื่อที่จะเสนอแนะในการกําหนดนโยบายให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจัยที่พิจารณาได้ประยุกต์มาจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยได้สอบถามจากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในพื้นที่ทั่วประเทศไทยจํานวน 801 คน โดยแบ่งเป็นสังคมเมือง 401 คน และสังคมชนบท 400 คน สําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน สําหรับสังคมเมืองพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจสวมหมวกนิรภัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสําหรับรถจักรยานยนต์ มี 4 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (β = 0.411) ปัจจัยด้านสิ่งชักนําให้เกิดการปฏิบัติ (β = 0.173) ปัจจัยด้านการรับรู้ความรุนแรง (β = 0.177) ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรค (β = 0.053) ซึ่งมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .000, .001, .004 และ .047ตามลําดับ โดยทั้ง 4 ปัจจัยมีความสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจสวมหมวกนิรภัยได้ร้อยละ26.4 ส่วนสังคมชนบท มี 4 ปัจจัย ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ (β = 0.249) ปัจจัยด้านการรับรู้ความรุนแรง (β = 0.244) ปัจจัยด้านสิ่งชักนําให้เกิดการปฏิบัติ (β = 0.237) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ส่วนปัจจัยด้านแรงจูงใจ (β =0.126) ซึ่งมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .040 ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจสวมหมวกนิรภัย ได้ร้อยละ 40.4 ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้ทําให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการสวมใส่หมวกนิรภัยระหว่างสังคมเมืองและชนบททั้งนี้องค์กรภาครัฐสามารถนําข้อมูลที่ได้ไปวางแผนพัฒนานโยบายให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This research aimed to study the factors affecting the intention in helmet usefor motorcycles in the context of Thailand in order to determine the suitable policiesfor each area. The factors to be considered were applied from Health Belief Model byquestioning 801 nationwide motorcycle riders divided into 401 of urban society and400 of rural society. For data analysis, Stepwise Multiple Regression analysis wasused. Regarding urban society, it was found that the four factors affecting theintention in helmet use for motorcycles were motivation (β =0.411), Cue to Action(β =0.173), Perceived Severity (β =0.177), and Perceived Barriers (β =0.053) atstatistical significance .000, .001, .004 and .047 respectively. These four factorspredicted that the intention in helmet use would be 26.4 percent. Regarding ruralsociety, the four factors including Perceived Benefits (β =0.249), Perceived Severity(β =0.244), Cue to Action (β =0.237) were at statistical significance .000 whilemotivation (β =0.126) was at statistical .040 These factors predicted that the intentionin helmet use would be 40.4 percent. The results from this study acknowledged thefactors affecting the intention in helmet use between urban society and rural society Thus, the organizations in government sectors potentially take the data to develop thesuitable policies for each area.
ผู้แต่ง ดิสกุล ชลศาลาสินธุ์
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ภาควิชา และคณะ สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2015
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2558
จำนวนหน้า 124 หน้า
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5843/1/Fulltext.pdf
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2560