TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาความปลอดภัยในการให้บริการรถตู้โดยสารระหว่างเมืองในภาคใต้
บทคัดย่อ (ไทย) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความปลอดภัยในการให้บริการรถตู้โดยสารระหว่างเมืองในภาคใต้และเสนอแนะระบบการจัดการความปลอดภัยในการให้บริการรถตู้โดยสารยานพาหนะประเภทนี้ได้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้งานบริการขนส่งผู้โดยสาร เนื่องจากจุดแข็งต่าง ๆ ในการให้บริการด้วยรถตู้ หลายบริษัทจึงประกอบธุรกิจให้บริการรถประเภทนี้ แต่ยังขาดระบบที่มีประสิทธิผลสำหรับจัดการความปลอดภัยในการให้บริการผู้โดยสาร จึงนำมาสู่การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสาร งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาระบบการจัดการสมรรถนะผู้ขับขี่และสมรรถนะของรถตู้โดยสาร โดยศึกษาสภาพรถทั้งก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการรถตู้โดยสาร 3 ราย ผู้ขับขี่รถตู้โดยสาร 296 ราย ผู้ใช้บริการรถตู้โดยสาร 1,260 ราย และเจ้าหน้าที่ขนส่ง 14 ราย ผลหลัก ๆ จากการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารส่วนใหญ่ ไม่มีการประเมินความพร้อมของผู้ขับขี่และรถตู้โดยสารก่อนออกให้บริการ ส่วนผู้ขับขี่รถตู้โดยสาร ร้อยละ 88.18 ไม่ได้แจ้งให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดนิรภัย นอกจากนี้ผู้ขับขี่เรียนรู้วิธีการขับรถตู้ด้วยตนเอง ซึ่งไม่ผ่านการฝึกอย่างมีระบบมากถึงร้อยละ 86.15 จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการรถตู้โดยสาร พบว่า คนขับมีการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่มากถึงร้อยละ 44.29 การแซงตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดร้อยละ 35.71 ผู้โดยสารรู้สึกไม่ปลอดภัยจากความเร็วที่ขับที่คนขับใช้ร้อยละ 32.54 ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เข็มขัดนิรภัยร้อยละ 90.24 จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ขนส่งพบว่า คนขับขับรถเร็วเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนด อุปกรณ์ส่วนควบไม่มีความแข็งแรงและไม่ถูกต้อง และจากการตรวจสภาพรถ พบว่า มีการเสริมเบาะที่นั่งเพื่อบรรทุกผู้โดยสารเกินความจุที่กำหนด (14- [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The aims of this research are to study safety of inter-city passenger van services in southern Thailand and the management of van safety services systems. Operation of passenger van services is good business because of its several strengths. But van operators have inadequate management of safety aspects; this has contributed to crashes and injuries of passenger. This study focus is on performance of the driver and vehicle. Study of vehicle conditions before and after a crash and the study consists of interviewing 4 sample groups : 3 van operators, 296 drivers, 14 transportation officers and 1,260 passenger. From the interview of operators, it was found that no assessment of the competency and safety of drivers and vehicles before departure was carried out. From the interview of drivers, it was found that drivers did not inform passengers to fasten seat belts (88.18 %) and most learned to drive a van by self-learning without formal training (86.15 %). From the interview of passengers, it was found that many drivers were using a cell phone while driving (44.29 %) cutting in at a short distance (35.71 %) and passengers felt unsafe because of the high driving speeds (32.54 %). Most passengers did not use seat belts (90.24 %). From the interview of transportation officers, it was found that drivers’ risky behaviors frequently found include speeding, auxillary equipment was substandard and installation was invalid. Extra passenger seats which were added exceed the legal limit of 1 [+]
ผู้แต่ง จเรย์ พูลผล
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาควิชา และคณะ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
รูปแบบผลงาน วิทยานิพนธ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2015
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2558
จำนวนหน้า 195 หน้า
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ รถตู้โดยสาร; ภาคใต้; ความปลอดภัยในการให้บริการรถตู้โดยสาร; รถตู้โดยสารระหว่างเมือง; อุบัติเหตุ
หมวดหมู่ การใช้ความเร็ว; เข็มขัดนิรภัย; การใช้โทรศัพท์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 22 มกราคม 2561