TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ในระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
Development of an Operational Model to Prevent Road Traffic Injury: A Case Study in Thung Chang District, Nan province
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง รูปแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์ของการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาอาเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยพัฒนาเครื่องมือแบบประเมินตามแนวทางการดำเนินงานและการประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ระดับอำเภอ ภายใต้กรอบกิจกรรม 10 กิจกรรม ตามแนวทางของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ แกนนำระดับอำเภอ จำนวน 40 คน ระยะเวลาในการศึกษาในปีงบประมาณ 2561 – 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที่ โดยดำเนินการพัฒนาและใช้รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในปีงบประมาณ 2561 และเปรียบเทียบสถิติอัตราตายจากอุบัติเหตุทางถนน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังดำเนินการในอำเภอทุ่งช้างมีการดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพภายใต้กรอบแนวคิด One Health ได้รับการประเมินรับรองทีมระดับเยี่ยม ของประเทศเมื่อปี 2561 โดยกรอบการดำเนินงานสามารถสร้างความสอดคล้อง ต่อเนื่อง เชี่อมโยงกลไกการจัดการระหว่างหน่วยงาน และขยายเครือข่ายความร่วมมือ เกิดการส่งเสริม สนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน วางแผนปฏิบัติงาน มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุได้ตรงจุด ส่งผลให้ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าคะแนนที่ได้คิดหลังการดำเนินงานอยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 80.26 โดยอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง ร้อยละ 50.21 จาก 38.78 ต่อแสนประชากรในปี 2561 เป็น 19.31 ต่อแสนประชากรในปี 2562 [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The research was conducted by undertaking the quasi-experimental one group pretest-posttest design. The objectives of this study were to develop and evaluate the model of prevention road Traffic Injury which was a case study in Thung Chang District, Nan province. The process was applied from the traffic accident prevention guidelines for the district level. The process was applied from the traffic accident prevention idea scheme of Thailand Road Safety Policy Foundation, under the activity framework of ten activities, with Excellent and Advance levels at a process determined by following the guidelines of the Bureau of Non-Communicable Diseases and the Department of Disease Control, Ministry of Public Health. A total of 40 participants were leaders at the district level. This study conducted in the fiscal year 2018-2019. The data analysis method possessed by percentages, arithmetic means, standard deviation, and paired t-test. Methods of the study started from Step I, an evaluation of operational prevention of a road traffic injury model, and Step II, comparison of death rates from the road traffic injuries in Thung Chang district between 2018 - 2019. The results found that the target group of this study were assigned from this task to solve the problems. The District Road Traffic Injury procedure motivated the communities to cooperate in identifying the major cause of road traffic accidents associated with its injury epidemiology. The District Road Traffic Injury performed p [+]
ผู้แต่ง อารุณรัตศ์ อรุณนุมาศ
วิสิทธิ์
มารินทร์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2020
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2563
วารสาร วารสารสาธารณสุขล้านนา
ปีที่ : 16

ฉบับที่ : 1
หน้า 82-93
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบ; การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; ระบบรายงานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/242683
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 11 พฤศจิกายน 2564