TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดสงขลา
Factors affecting Traffic Rule Compliance Behavior of Motorcycle Riders in Songkhla Province
บทคัดย่อ (ไทย) ความนิยมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศ ซึ่งพบว่าร้อยละ 76 เกิดจากการใช้รถจักรยานยนต์และมักจะได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรง การวิจัยครั้งนี้มุ่งอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจร และพยากรณ์อิทธิพลคั่นกลางของเจตนาเชิงพฤติกรรมที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลจากคนหนุ่มสาวอายุ 15-25 ปี ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดสงขลาซึ่งเป็นประชากรไม่จำกัดจำนวน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจำนวน 590 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคโมเดลสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลสมการโครงสร้างตามรูปแบบของทฤษฏีพฤติกรรมตามแผนสามารถอธิบายความแปรปรวนของเจตนาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรได้ร้อยละ 77.6 และร้อยละ 65.3 ตามลำดับโดยเจตคติต่อพฤติกรรม และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตนาเชิงพฤติกรรม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจร นอกจากนี้ เจตนาเชิงพฤติกรรมมีอิทธิพลคั่นกลางความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจร ผลการวิจัยครั้งนี้ยืนยันในเบื้องต้นว่าทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนสามารถอธิบายพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของคนหนุ่มสาวได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับวินัยจราจรสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการคาดการณ์พฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The increasing popularity of motorcycles in Thailand was a significant concern as motorcycle ridersrepresent 76% of all road accidents and an even greater proportion of serious injuries. This study was to explain factors affecting traffic rule compliance behavior and determine the mediator effect of behavioral intention in the relationship between perceived behavioral control and traffic rule compliance behavior. Data were collected from young people aged 15-25 years who had ridden motorcycles in Songkhla province by means of structured questionnaires. The infinite population selected 590 people by using the convenience sampling method. Data were analyzed with partial least square structural equation modeling technique. The results showed that the TPB model explained 77.6% of the variance in compliance intentions and 65.3% of compliance behavior. Besides, the direct effect of attitude and subjective norm on behavioral intention, and perceived behavioral control on traffic rule compliance behavior were also confirmed in this study. The findings clearly demonstrated that the relationship between perceived behavioral control and traffic rule compliance behavior was better understood if the influence of behavioral intention, as a mediating variable of the aforementioned relationship, was taken into account. To summarize, the findings of this study provided a preliminary support for the theory of planned behavior as an effective framework for examining rule compliance in young ri [+]
ผู้แต่ง อิสระ ทองสามสี
กันยปริณ
ทองสามสี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2020
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2563
วารสาร วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์
ปีที่ : 37

ฉบับที่ : 1
หน้า 162-186
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ เจตนาเชิงพฤติกรรม; การปฏิบัติตามกฎจราจร; ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์; จังหวัดสงขลา
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/228563
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 11 พฤศจิกายน 2564