TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์การรับรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์อุบัติเหตุทางถนน : นัยยะต่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ
Perception Analysis on Road Accidental Phenomena: Implications for Preventive Policy Development
บทคัดย่อ (ไทย) อุบัติเหตุทางถนนเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับความสนใจแตกต่างกันไป นักกฎหมายอาจสนใจพฤติกรรมของปัจเจกที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุเพื่อหาขอบเขตความรับผิดชอบที่ผู้กระทำความเสียหายต้องชดใช้ ขณะที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข จะมองไปที่การรักษาผู้บาดเจ็บ การเยียวยารักษา รวมทั้งการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้สนใจสาเหตุและต้นตอ (Cause, or rooted cause) ของการเกิดมากกว่าลักษณะของการเกิดเหตุจริงๆของอุบัติเหตุ ส่วนสังคม มองอุบัติเหตุทางถนนว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดการชนกันหรือล้มลงของรถทำให้เกิดการกระแทก ระหว่างรถ ถนนและวัตถุต่างๆที่อยู่แวดล้อม แต่โดยทั่วไป อุบัติเหตุทางถนน มักได้รับการนิยามที่เชื่อมโยงกับโอกาสที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ทั้งการบาดเจ็บทางร่างกายและการสูญเสียทรัพย์สิน การนิยามแบบนี้จึงมักถูกนำไปเชื่อมโยงกับ เรื่องโชคชะตา และกรรมเก่าที่สะท้อนถึงการยอมจำนน ที่สำคัญยังเป็นอุปสรรคในการแก้ไข นอกจากนี้ ความเสี่ยง และ ความประมาทของแต่ละคนในเรื่องอุบัติเหตุจึงมองไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น การคุยโทรศัพท์โดยใช้ อุปกรณ์เสริมอย่าง Hand free หรือ Bluetooth หลายคนคิดว่าเป็นการกระทำที่ปลอดภัยในการขับขี่แต่บางคนคิดว่าเป็นความเสี่ยง อย่างไรก็ตามทุกคนเข้าใจตรงกันว่า อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ ตราบใดที่มีการใช้รถใช้ถนนและมนุษย์เป็นผู้ควบคุมยวดยาน ย่อมมีโอกาสผิดพลาด คนจึงไม่ได้มองข้ามเรื่องอุบัติเหตุ แต่มักมองข้ามปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เพราะคิดว่าจะไม่เป็นสาเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้นของอุบัติเหตุ เช่น การก้มเก็บของเล็กๆน้อยๆ การรีบเช็ดอ๊วกหรืออาเจียนเด็กระหว่างขับรถ หรือ การรีบรับโทรศัพท์ในระหว่างขับขี่รถ การไม่สวมหมวกนิรภัยเพราะคิดว่าขับไปไม่ไกล เป็นต้น ก [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Road accidents are often perceived as events which are unexpected and undesirable. Drivers inevitably link accidents with fate and karma. This article argues against such perceptions which not only do not contribute to problem-solving but can even obstruct it. Accidents are events where crashes occur among vehicles, between vehicles and people, and between people and roads and its associated objects. They generate casualties, conflicts, stress and chaos. Road accidents are commonly agreed as undesirable and problematic and need serious prevention and proper solutions. From the behavioral aspect, people tend to be overconfident drivers; they often overestimate their driving skill and believe that they are never careless. When accidents occur, drivers think it is because of the carelessness of others or because of bad luck/karma. They tend to overlook that accidents can suddenly happen at any time from the moment they step their foot in their cars or drive on the road. In specific, experienced drivers believe that they have full capability to control their driving and can come up with a temporary solution for an unexpected event on the road. Given such mindset, prevention has become neglected. This implies that drivers passively accept the risks of the accident. This article suggests that the drivers should not underestimate the accidents per se. There are many potential risks of accidents while driving such as using an electric device like phone or GPS, picking up t [+]
ผู้แต่ง ภาคภูมิ ฤกขะเมธ
พัชรี
สิโรรส
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2020
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2563
วารสาร วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่ : 6

ฉบับที่ : 2
หน้า 1-30
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ อุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์การรับรู้; ปัญหานโยบาย
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; การใช้โทรศัพท์; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/article/view/240709
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 24 พฤศจิกายน 2564