TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี
A Participation Model on Road Safety Management with Kindergarten People in Ubon Ratchathani
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี เก็บข้อมูลจาก การสังเกต การทดสอบ การสัมภาษณ์ การบันทึกกิจกรรมการประชุม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบที่ได้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มนักพัฒนา จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ Paired Simples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์ปัญหาความปลอดภัยทางถนน เด็กการเดินทางมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับผู้ปกครองโดยส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 86.49 พฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่มารับส่งเด็ก ไม่สวมหมวกกันน็อคร้อยละ 62.82 และเด็กที่โดยสารมาไม่สวมหมวกกันน็อค ร้อยละ 96.28 ความรู้ของครูด้านความปลอดภัยทางถนนต่อการนำไปสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กอยู่ในระดับปานกลาง (M=10.50, SD=1.67) ในปีการศึกษาที่ผ่านมามีอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เด็กเสียชีวิต 1 คน จุดเสี่ยงสาคัญบริเวณรอบสถานศึกษามีจานวน 3 จุด 2. รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี คือ 6 ก. สู่ความปลอดภัยทางถนน ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความสัมพันธ์เพื่อสร้างความร่วมมือ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุในพื้นที่ ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดเป้าหมายร่วมในการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบกิจกรรมการลดอุบัติเหตุทางถนน ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินกิจกรรมการลดอุบัติเหตุทางถนนร่วนกัน และขั้นตอนที่ 6 การประเมินสะท้อนผลลัพธ์ 3. ผลจากการใช้รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม พบว่า มีการจัดการจุดเสี่ยงจำนวน 3 จุด ก [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This Participatory Action Research (PAR) aimed to develop a participation model on road safety management with a kindergarten community situated in Ubon Ratchathani. Observation, testing interview, meeting record, and satisfaction survey were used to gather data. The participants were 165 stakeholders and developers. Statistics used were frequency, percentage, and pair t-tests. Results revealed that 13 teachers and 122 kids were traveling to and from kindergarden by motorcycle (86.49%), by car (12.21%), or by foot with parents (1.30%). Most of parents (62.82%) who used motorbike were not using a helmet and nearly all kids (92.68% were travelling without any head protection. In the previous academic year, one kid had passed away from a traffic accident. Moreover, 3 places were the risk of accident. The participation model of road safety management consisted of 6 steps: 1) build relationship for cooperation, 2) investigate accident situation, 3) establish the goals, 4) design activities for road accident reduction, and 6) evaluation. Evaluation of the model trial found that 98.5% of respondents were satisfied with the model. It is the place as a learning model from 50 agencies in Thailand. The results of this study suggest that participation model of road safety can be applied within kindergartens and schools, depending on context.
ผู้แต่ง ถนอมศักดิ์ บุญสู่
อรรณพ
สนธิไชย
ปณิตา
ครองยุทธ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2020
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2563
วารสาร วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
ปีที่ : 7

ฉบับที่ : 3
หน้า 309-321
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ การจัดการความปลอดภัยทางถนน; การมีส่วนร่วมรูปแบบ
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/241375
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 30 พฤศจิกายน 2564