TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ด้านอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่กับปัจจัยทางด้านเรขาคณิตของ ทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร : กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 304
Relationships of Highway Geometry to Accident of Heavy Trucks on Two-lane Highway: A Case Study of Highway 304
บทคัดย่อ (ไทย) วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ด้านอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่ กับปัจจัยด้านเรขาคณิตของทางหลวงในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้าน เรขาคณิตของทางหลวงที่มีผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่บนทางหลวง ขนาด 2 ช่องจราจรบริเวณนอกเมือง กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 304 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 319 จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงทางแยกตะขบ จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางศึกษา 180 กิโลเมตร การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมกลุ่มปัจจัยทางด้านเรขาคณิตของทางหลวงที่เกี่ยวข้องต่อการเกิด อุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่จากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ มาจัดกลุ่มปัจจัยก่อนแล้วทำการ รวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษา ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติและค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์เบื้องต้นของกลุ่มปัจจัยที่เป็นตัวสนับสนุนการเกิด อุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่ จากนั้นจึงวิเคราะห์การแปรเปลี่ยนอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ของรถบรรทุกขนาดใหญ่ภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางด้านเรขาคณิตของทางหลวง ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอย เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านเรขาคณิตของทางหลวง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงของรถบรรทุกขนาดใหญ่ ผลจากการศึกษาข้อมูลกลุ่มปัจจัยแต่ละตัวแปร พบว่าการเปลี่ยนแนวทางดิ่งเป็นปัจจัยที่ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ มากที่สุด รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงแนวทางราบ ความกว้างผิวทาง และจำนวนทางแยก และ เมื่อนำกลุ่มปัจจัยที่เป็นตัวสนับสนุนการเกิดอุบัติเหตุมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่าการ เปลี่ยนแนวทางดิ่งและความกว้างผิวทาง เป็นกลุ่มปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตรา การเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่บนทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรบริเวณนอกเมืองอย่าง มีนัยสำคัญมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่จะมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลักษณะของทางหลวงที่มีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแนวทางดิ่งเพิ่มขึ้น และจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อลักษณะของทางหลวงมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแนวทางดิ่งลดลง ในขณะ เดียวกันทางหลวงที่มีความกว้างผิวทางแคบก็จะส่งผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุก ขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจะมีแนวโน้มลดลงในกรณีที่ทางหลวงมีความกว้างผิวทาง เพิ่มขึ้น ผลที่ได้จากศึกษาครั้งนี้ แสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิด อุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่กับปัจจัยทางด้านเรขาคณิตของทางหลวงในรูปแบบสมการทาง คณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปประเมินแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนาดใหญ่บนทางหลวง สายอื่น ๆ ที่มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายกันได้ อย่างไรก็ตามในการศึกษาต่อไปควรขยายการ ศึกษากลุ่มข้อมูลในระดับภาคและระดับประเทศต่อไป ซึ่งจะช่วยให้สามารถสรุปผลได้ถูกต้อง ยิ่งขึ้นและใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรให้มีความเหมาะสม ที่สุดสำหรับการเดินทางของรถบรรทุกขนาดใหญ่ในประเทศไทยต่อไป
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The relationships between accident of heavy truck and highway geometry factors on highway in Thailand was carried out in order to study highway geometry factors which affected accident rate of heavy truck on two-lane rural highway. A case study of highway route number 304, between section of highway route number 319 intersection in Chachoengsao to Ta-kob intersection in Nakhonratchasima , total length of 180 kilometers was related. The study started from gathered data of group of highway geometry factors that related to accident of heavy truck from various documents and researches. Consequently, the groups of factor were categorized and data of the related highway were collected. The preliminary relationships of group of factors which influenced the increased rate of accident of heavy truck were determine. Furthermore, the variation of accident rate were also analyzed under different circumstances on highway geometry factors by multiple regression analysis to illustrate the relationships. From the result of the study on each variable groups of factor, it was found out that change of vertical alignment is the most significant variable that influenced the rate of accident of heavy truck followed by change of horizontal alignment, width of roadway and number of intersection. It was also found out that change of vertical alignment and width of roadway are the most significant groups of factors that influenced the rate of accident of heavy truck on two-lane rural highway. Another finding was that the rate of accident increased with the change of vertical alignment and vice versa. Nevertheless, the narrowed width of roadway also influenced increase rate of accident and vice versa. The study has developed the relationships between the rate of accident of heavy truck and highway geometry factors in term of mathematical equation which can be applied to the evaluation of the tendency to accident of heavy truck on other highways. However, the further analysis on the relationships between vertical alignment and horizontal alignment at other two-lane highway would confirm the result of the study. The result would assist the highway engineer to design better and safe two-lane rural highway for the transport of heavy truck in Thailand.
ผู้แต่ง สำรวล สุขแสวง
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ภาควิชา และคณะ วิศวกรรศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา-ขนส่ง)
รูปแบบผลงาน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2000
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2543
จำนวนหน้า -
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ อุบัติเหตุทางถนน; ทางหลวงนอกเมือง; รถบรรทุกขนาดใหญ่; ปัจจัยทางด้านเรขาคณิต
หมวดหมู่ จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การออกแบบถนนอย่างปลอดภัย; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1209
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Saturday, April 5, 2014