TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง โครงการการศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจร เพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท ระยะที่ 1 ความเร็ว
The study and development of traffic engineering knowledge for the Thai rural community road safety phase I: Speed management
บทคัดย่อ (ไทย) โครงการ การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อควาปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพัฒนาชุดความรู้เพื่อถนนชุมชนปลอดภัย เน้นความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรที่เหมาะสมกับถนนสายย่อยในท้องถิ่น โดยโครงการในระยะที่ 1 เน้นการจัดการปัญหาความเร็วในชุมชน โดย สามารถสรุปผลการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ได้ดังนี้ 1. โครงการฯ ได้ศึกษาและถอดบทเรียนพื้นที่ตัวอย่างในการควบคุมความเร็ว 3 พื้นที่ ได้แก่ - โครงการ ชุมชนร่วมใจป้องกันอุบัติภัยทางถนน บ้านคำนางปุ่ม อำเภอเขาสวนกวาง บทเรียนดีดีที่เสนอบทบาทของ พี่เลี้ยง สอจร กับภารกิจการจัดการความเร็วโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีบทบาทในการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย - กรณีศึกษาป้อมปากทางเข้ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีการจัดสภาพแวดล้อมของ ถนนให้มีลักษณะของปากทางเข้าด้วยการติดตั้งป้อมและเกาะกลาง ผลการศึกษาข้อมูล พบว่าสามารถชะลอความเร็วของรถที่วิ่งผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ - กรณีศึกษาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เสนอบทเรียนที่มีเหตุเกิดจาก การขยายตัวของชุมชน ถนนเปลี่ยน ผู้คนมากขึ้น อุบัติเหตุบนถนนในหมู่บ้านที่เพิ่มขึ้น สู่การจัดการโดยชุมชน และปฏิบัติการภาคหนึ่งในกาสำรวจและวิเคราะห์จุดเสี่ยง และภาคสองในการควบคุมความเร็วของรถที่วิ่งผ่าชุมชน 2. โครงการฯ ได้ศึกษารูปแบบเนินชะลอความเร็วที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบัน ผ่านทางการสอบถามความคิดเห็นและทัศนคติของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ การสำรวจความเร็วของรถจักรยานยนต์และรถยนต์การศึกษาความเร่งในแนวดิ่งด้วยการใช้รถทดลองวิ่งผ่านเนินต่อเนินชะลอความเร็วประเภทต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า - รูปแบบเนินกระแทกที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันแม้มีราคาค่อนข้างถูก แต่กลับสร้างความลำบากเกินจำเป็นแก่ผู้ขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้งยางชะลอความเร็วบนทางสายรอง สร้างอันตรายมากขึ้นแก่ผู้ขับขี่เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วต่างกันมากเมื่อขับขี่ข้ามเนิน - ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีแนวโน้มขับขี่ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นเมื่อเนินชะลอความเร็วมีขนาดความกว้างมากขึ้น โดยการขับขี่ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นส่วนใหญ่จะให้ค่าความเร่งสูงสุดและความเร่งเฉลี่ยมากขึ้น - รูปแบบเนินมาตรฐานสำหรับรถยนต์ตามที่แนะนำในต่างประเทศอาจไม่สามารถควบคุมความเร็วของรถจักรยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลในส่วนนี้ต้องการงานวิจัยเชิงลึกเพิ่มเติม 3. โครงการฯ ได้พัฒนาเอกสารแนวทางการจัดการปัญหาการใช้ความเร็วในชุมชน โดยเปิดประเด็นการนำเสนอด้วยภาพรวมของอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลัก และสถานที่เกิดเหตุตามด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่องความเร็ว ผลกระทบ และความสำคัญของการจัดการความเร็วในเขตเมือง เขตชุมชน วิธีการวัดความเร็วอย่างง่าย ปิดท้ายด้วยมาตรการควบคุมความเร็ว โดยพยายามจัดและคัดเลือกเนื้อหาให้เหมาะสำหรับ บุคคลทั่วไป ที่ต้องการความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุ ความเร็ว และการจัดการความเร็ว เพื่อให้สามารถขยายความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเร็ว ไปยังพื้นที่เป้าหมายอื่นๆได้ 4. โครงการฯ ได้พัฒนาแกนนำและชุมชนต้นแบบ 6 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้านที่เคยร่วมโครงการเดิมและหมู่บ้านใหม่ โดยได้มีการจัดอบรมเติมความรู้เรื่องการจัดการความเร็วในชุมชนจากชุดความรู้ที่จัดทำขึ้น พร้อมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเรื่องความเร็วแต่ละหมู่บ้าน นำไปสู่ปฏิบัติการควบคุมความเร็วในชุมชนด้วยการปรับปรุงเนินชะลอความเร็วเดิมและสร้างเนินชะลอความเร็วใหม่ ผลจากปฏิบัติการนอกจากจะสามารถควบคุมความเร็วในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการแล้วยังสามารถขยายผลไปยังพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลายชุมชนรอบข้างได้ร่วมกันจัดทำเนินชะลอความเร็วด้วยต้นทุนทั้งหมดจากทางชุมชนเองทำให้ในบริเวณพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงเกิดจุดชะลความเร็วบนถนนสายย่อยอย่างคลอบคลุมทั่วทั้งโครงข่ายถนนผลของโครงการได้ก่อให้เกิดมิติของการเปลี่ยนทั้งในแง่ของชุดความรู้ ที่เอื้อต่อการขยายผโครงการ ในพื้นที่อื่นๆ การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงแก้ไขในพื้นที่ หรือองค์ความรู้ของนักวิจัยและแกนนำชุมชน ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้มีความรู้ความสามารถในวิเคราะห์และแก้ปัญหาเรื่องความเร็วภายในชุมชนของตนเองและสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนอื่นๆคณะผู้จัดทำโครงการตั้งความหวังว่า การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาของตนเอง วิเคราะห์ปัญหาของตัวเอง และการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันของปัญหา แสวงหาทางออกของปัญหา ภายใต้ทุนทางสังคมที่มีอยู่และผสมผสานความรู้เชิงวิชาการจากภายนอก จะนำมาสู่การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง และสร้างวัฒนธรรมของความปลอดภัยบนท้องถนนที่เกิดจากส่วนเล็กที่สุดในสังคม แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและขยายผลสู่พื้นที่วงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำมาสู่การสร้างความปลอดภัยทางถนนได้อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This project has been established to study and develop the rural community roadsafety tool kits emphasized on how to transfer the appropriate traffic engineering knowledge to safer the rural community road. In phase I, the speed management is focused. The project summary can be drawn as follow: 1. The project summarized the lessons learn from 3 case studies. - Case study I, Kham Nang Poom Village road safety project presents the community involvement in speed enforcement. - Case study II, MSU Gateway presents the effectiveness of gateway treatments to reduce the vehicle speed passed through the campus. - Case study III, Black spot improvement in the villages around MSU presents the possibility of community involvement in black spot treatments program as well as speed management program. 2. This project studies existing speed bumps and humps through the 3 methods; 1)questionnaire survey, 2) spot speed study, 3) on route vertical acceleration survey. The study results show that: - The existing speed bumps, although have relatively low construction cost, cause excessive difficulty to the road user. It post unnecessary hazardous to road user especially when installed on the collector road. Key factors are from the speed differences between the motorcycle and passenger car when crossing the bumps. - The motorcycle rider tends to use the higher speed to cross the wider bump and the higher speed tends to yield the higher vertical accelerations. - Standard size of road hump recommended in the Western countries may not suitable to control the motorcycle speed. 3. This project develops the rural community speed management guidelines. It provides evidence of why speed management in the community road is important. It explains the basic knowledge about the speed and its impacts on traffic accident. To access the speeding situation, speed study techniques are also discussed. Finally, speed control measures are addressed. It is hoped that the document can be read and easily adapted to suit the problems and needs of individual communities. 4. This project also develops the research team and the prototype communities in the 6 villages. The speed management training and workshops were organized to fill the technical knowledge and reveal the existing speed problems. Based on the findings, the speed management programs were conducted. These include the improvement of existing speed bumps and construction of new speed humps. The programs were successfully implemented in the target villages as well as were effectively distributed to nearby areas. Several villages volunteer to construct the road hump on their local road from their own budget. Project results create significant changes both in terms of physical and knowledge. The physical changes refer to the traffic calming devices from community action. The knowledge changes extend to the developed guideline and the knowledge gain by the research team members and community leaders who can develop their own skill to identify and analyze the speed problem. They also enable to lead other communities as well. It is hoped that to encourage the community to participate in improving their own safety problems, i.e., to create problems ownership feeling, to analyze their own problem, to seek for improvement solutions by integrating of local wisdom and technical knowledge, will enable sustainable community safety improvement.
ผู้แต่ง วิชุดา เสถียรนาม
กนกพร
รัตนสุธีระกุล
ธเนศ
เสถียรนาม
จินดาพร
จำรัสเลิศลักษณ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สนับสนุน ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)
ผู้จัดพิมพ์ -
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2013
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2556
จำนวนหน้า 234 หน้า
ประเภทเอกสาร รายงาน
คำสำคัญ ถนนชุมชนปลอดภัย; การจัดการปัญหาความเร็วในชุมชน; ความเร็ว; มาตรการควบคุมความเร็วทางวิศวกรรม
หมวดหมู่ การใช้ความเร็ว; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การออกแบบถนนอย่างปลอดภัย; การมีส่วนร่วมของชุมชน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Saturday, August 2, 2014