TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง โครงการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยรถเพื่อการทัศนาจรสำหรับสถานศึกษาพื้นที่นำร่องจังหวัดนครราชสีมา
DEVELOPMENT OF SAFETY STANDARD FOR SIGHTSEEING SCHOOL BUS: A PILOT PROJECT IN NAKHON RATCHASIMA AREA
บทคัดย่อ (ไทย) ระบบการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน โดยเน้นการเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และนาความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการเรียนและเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิต โดยการนำกลุ่มนักเรียนออกนอกพื้นที่โรงเรียนนั้น ทางโรงเรียนส่วนใหญ่นิยม ใช้บริการรถโดยสารในการเดินทางทัศนศึกษา ซึ่งย่อมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุไม่ได้ การจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยสาหรับรถเพื่อการทัศนาจรเป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการจะมีความรู้ความเข้าใจและแนวทางในการประเมินคัดเลือกผู้ประกอบการรถเพื่อการทัศนาจรโดยอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงคุณภาพของการบริการ การปรับปรุงและบารุงรักษารถ รวมถึงคุณสมบัติของผู้ขับขี่ ใน ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงคณะอาจารย์ในการเดินทางเพื่อทัศนศึกษา ดังนั้นจึงได้มีการจัดทามาตรฐานความปลอดภัยรถเพื่อการทัศนาจรสาหรับสถานศึกษา พื้นที่นำร่องจังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทบทวนเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยรถทัศนศึกษาของหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนระบบกากับติดตามเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด (2) ศึกษาสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในการใช้รถทัศนาจรของสถานศึกษา และ (3) จัดทำมาตรฐานความปลอดภัยรถทัศนศึกษา และแนวทางปฏิบัติสาหรับสถานศึกษาที่สามารถนาไปใช้ได้จริง จากการทบทวนมาตรฐานความปลอดภัยการให้บริการรถโดยสารในต่างประเทศพบว่าข้อกาหนดต่าง ๆ ในการดาเนินการไม่แตกต่างจากประเทศไทยมากนัก เช่น ข้อกาหนดในเรื่องขนาดรถมาตรฐานการออกแบบรถ (การกาหนดให้มีเข็มขัดนิรภัย การใช้กระจกที่มีความแข็งแรง) การตรวจสภาพรถ เป็นต้น เพียงแต่ประเทศไทยต้องมีการตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามข้อกาหนดอย่างเคร่งครัด และประเด็นที่ประเทศไทยควรนามาเป็นแบบอย่าง คือ การให้ความสาคัญกับการคัดเลือกพนักงานขับรถที่มีความรู้ความสามารถและมีการฝึกอบรมในหัวข้อที่จาเป็นอย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลักสูตรการอบรมถึง 120 ชั่วโมง เนื่องจากสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับสหรัฐอเมริกา คือ มีสาเหตุมาจากพนักงานขับรถ แต่ความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอาจมีความแตกต่างจากต่างประเทศ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างตัวถังรถไม่มีความแข็งแรงและไม่ได้มาตรฐานซึ่งจากการศึกษาของกองทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนพบว่า อู่รถส่วนใหญ่ต่อรถไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับต่างประเทศ จึงจาเป็นต้องมีมาตรการมารองรับมาตรฐานดังกล่าว สาหรับมาตรฐานความปลอดภัยในการทัศนศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ซึ่งได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ โดยออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งระเบียบดังกล่าวกาหนดให้หัวหน้าสถานศึกษามีหน้าที่คัดเลือก ยานพาหนะที่มีความปลอดภัยและพนักงานขับรถที่มีความรู้ความชานาญ จากข้อกาหนดดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้กาหนดรายละเอียดในการประเมินคัดเลือกยานพาหนะและพนักงานขับรถอย่างเป็นรูปธรรม และจากการประชุมระดมความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นตรงกันว่า ที่ผ่านมารัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมนักศึกษาไม่เพียงพอต่อการเลือกใช้รถโดยสารที่มีคุณภาพ จากผลการสารวจความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ นักเรียนและผู้ปกครอง เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้รถทัศนาจร 5 ด้าน คือ ด้านราคา ด้านความสะดวกสบาย ด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัย และด้านพนักงานขับรถ พบว่า ปัจจัยที่ได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรกในการเลือกใช้รถทัศนาจร ได้แก่ ปัจจัยด้านความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 47-69ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังในความปลอดภัยของการเดินทาง แต่มีกลุ่มตัวอย่างบางส่วน คิดเป็นร้อยละ 8-29 ที่เลือกปัจจัยด้านราคาเป็นอันดับแรก ซึ่งอาจเลือกใช้รถราคาถูก และอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจาเป็นต้องมีมาตรการหรือนโยบายในการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนกลุ่มดังกล่าวให้มีความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยในการเดินทางมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ได้จัดทา “คู่มือการเลือกรถทัศนาจรสาหรับสถานศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา” ขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากการสารวจมาประกอบการสร้างเกณฑ์การประเมิน โดยประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) ข้อแนะนาในการใช้รถทัศนาจร (2) ขั้นตอนการดาเนินการเพื่อเลือกรถทัศนาจรที่ปลอดภัยของโรงเรียน (3) เกณฑ์การประเมินรถทัศนาจร (Check list) และ (4) เอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คู่มือดังกล่าวจะสามารถนาไปเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถนาไปปรับใช้ได้จริง
บทคัดย่อ (อังกฤษ) At present, education is comprehensively accentuated in improving learning skills of students by centering on field trips to enhance their interests in learning surrounding experiences and applying them in daily living. In taking students out of school for educational journey, most of schools popularly use bus services; hence risk of accidents cannot be avoided. Development of safety standards for sightseeing school bus is one of processes in providing safety standard requirements. As well, service users have been introduced to the approach and understanding for bus entrepreneur selection on the basis of safety that must be considered before comfort-related factors and operation costs. Thus, this effort would motivate the entrepreneurs to substantially improve bus service quality and maintenance as well as readiness of drivers. Simultaneously, it also greatly enhances safety standards of field trips for students, their parents and teachers. Therefore, introduction of bus safety standards of field trips for the pilot project in Nakhon Ratchasima area is considerably developed, which aims to: (1) review safety standards of sightseeing school bus of domestic and international organizations/units as well as monitoring systems in order to comply with the required standards; (2) study safety situations of the use of sightseeing school bus of educational institutions; (3) develop safety standards of sightseeing school bus and guidelines for educational institutions in a practical manner. According to the study, it was interestingly found that, considering safety standard requirements of field trips of related domestic bodies such as Ministry of Education which has issued the Ministry of Education’s Regulations in taking school and university students for educational tour B.E. 2548, the Regulation has dictated head of educational institutions in taking responsibility for selecting safe vehicles and knowledgeable and skill drivers. Such requirements do not provide the substantial details related to the selection assessment of vehicles and drivers. Together with the brainstorming session, the stakeholders mutually agreed that government allocated inadequate budgets to educational institutions in enabling the provision of bus service quality for student activity arrangements. Based on the review of safety standards of bus services in other countries, the findings depicted that any operations regulations are very slightly different from Thailand e.g., regulations on vehicle size, design standards (use of safety belt and strong vision mirrors) and inspection, etc. It is only that Thailand must have audit to ensure a rigorous compliance with the requirements. The significant issue -which should be adopted by Thailand – involves giving priority to the selection of knowledgeable and skill drivers as well as training in necessary topics; for example, 120-hour driver training course in US. In Thailand, the major causes of accidents are quite similar to US in that they typically occurred due to drivers. Albeit, the severity of crashes in Thailand might be different since materials used for vehicle body are not strong enough to reach the standards. Regarding the study of the Road Safety Fund, it illustrated that vehicle building by garages in Thailand does not meet the standards compared to other countries, so some effective measures must be provided to support such requirements. In addition, factors affecting the selection of the use of sightseeing school bus comprise 5 aspects including price, comfort, service quality, safety, and driver factors associated with stakeholders (e.g., school board committees, teachers, staffs, students, and parents).The results demonstrated that safety should be considered as the first priority factor of selection of sightseeing school bus with 47-69% of agreed responses that exemplify the travel expectation with safety concerns. However, a significant number of sample groups of about 8-29% consider price factor as a top priority, so they preferably use cheap vehicles that may pose an increased risk of accident. Henceforth, related authorities should provide some potential measures or policies to divert attitudes of such group to build a greater awareness of safe travel. Selection of Sightseeing School Bus Manual based on the case study of Nakhon Ratchasima Province was developed by our research team with using survey data to develop criteria/check list. The Manual consists of 4 parts including (1) introduction of the use of sightseeing school bus; (2) procedures for selecting safe sightseeing schoolbus; (3) check list; and (4) related documents.
ผู้แต่ง ผศ.ดร.วัฒนวงศ์ รัตนวราห
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ผู้สนับสนุน ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)
ผู้จัดพิมพ์ -
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2012
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2555
จำนวนหน้า 169 หน้า
ประเภทเอกสาร รายงาน
คำสำคัญ รถทัศนาจร; มาตราฐานรถโดยสาร; อุบัติเหตุกับกำรเดินทำงทัศนศึกษา; ทัศนศึกษา
หมวดหมู่ การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Saturday, August 2, 2014