TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์มูลค่าอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยโดยวิธี Willingness-To-Pay
บทคัดย่อ (ไทย) การที่จะเข้าใจถึงปัญหาทางด้านอุบัติเหตุทางถนนและผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมนั้นจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์มูลค่าการสูญเสียเนื่องมาจากอุบัติเหตุ สำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศรวมไปถึงประเทศไทยนั้นมูลค่าการสูญเสียเนื่องมาจากอุบัติเหตุมักถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งวิธีการนี้ยังมีข้อด้อยในเรื่องการประเมินมูลค่าการสูญเสียต่ำกว่าความเป็นจริง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีความเต็มใจจ่าย (Willingness To Pay) ในการวิเคราะห์ ซึ่งวิธีนี้ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินมูลค่าที่คนๆหนึ่งต้องจ่ายเพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียชีวิต การวิจัยครั้งนี้ยังนำวิธี Contingent Valuation มาเป็นวิธีการเพื่อหาค่าความเต็มใจจ่าย (Willingness To Pay) ของผู้ตอบแบบสอบถาม การวิจัยนี้มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายคือการเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ โดยวิเคราะห์จากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จำนวน 1,015 คนในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามูลค่าชีวิต (Value Of Statistical Life) และ มูลค่าผู้บาดเจ็บ (Value Of Statistical Injury) อยู่ในช่วง 5.5 ถึง 7 ล้านบาท และ 2.6 ถึง 3.4 ล้านบาท ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ เพศ อาชีพ รายได้ และ พฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัย เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อลดความเสี่ยงการตายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ เพศ รายได้ รายได้ครัวเรือน ความถี่ในการใช้รถจักรยานยนต์ ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุ และ ความสามารถที่ลดลงเนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการเต็มใจจ่ายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อลดความสี่ยงจากการบาดเจ็บรุนแรง
บทคัดย่อ (อังกฤษ) It is well known that the accident costs need to be estimated to understand the existing problem and to perceive a major economic impact of road accident. In many developing countries including Thailand, the road accident cost has been traditionally evaluated by the Human Capital Method. This approach, however, has a shortcoming of underestimating the accident cost by the fact that it focuses only on the economic effects of the loss of life and does not account for the value of enjoyment of life forgone. In this study, another alternative method which is the Willingness-To-Pay method (WTP) was selected to evaluate the accident cost. WTP method or the value of risk change is used to estimate the value that individuals would pay for reducing the risk of loss of life. The Contingent Valuation (CV) method is adopted in this study to determine the WTP. In this paper, the cost due to motorcycle accident was focused because the motorcycle crash is the biggest portion among all type of vehicle crashes in Thailand. The questionnaire survey was designed to determine the amount of money that each motorcycle user would pay to reduce the risk of loss of life from motorcycle accident. In this study, a total of 1,015 motorcycle users in Bangkok and surrounding areas were interviewed. The results show that the Value of Statistical Life (VOSL) and the Value of Statistical Injury (VOSI) are in the range of 5.5 to 7 million baht and 2.6-3.4 million baht, respectively. The age, gender, occupation, income, and behavior of helmet use are significant factors affecting the willingness to pay of motorcycle users to reduce the fatality risk. The age, gender, income, household income, frequency of using motorcycle, accident experience, and the behavior of alcohol-impaired riding are significant factors affecting the willingness to pay of motorcycle riders to reduce the severe injury risk.
ผู้แต่ง ปรีดา จาตุรพงศ์
กัณวีร์
กนิษฐ์พงศ์
ปิยพงษ์
จิวัฒนกุลไพศาล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2012
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2555
สัมมนา ชื่องานสัมนา : ประชุมวิชาการ การขนส่งแห่งชาติ
ครั้งที่ : 7
จำนวนหน้า -
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ ความเต็มใจจ่าย; Contingent valuation; Logistic regression; มูลค่าอุบัติเหตุของผู้ใช้รถจักรยานยนต์; มูลค่าชีวิตของผู้ใช้รถจักรยานยนต์
หมวดหมู่ ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของอุบัติเหตุทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Saturday, August 16, 2014