TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์อุบัติเหตุทางหลวงที่จุดอันตราย โดยวิธีฟัซซีฟอลท์ทรี
Analysis of Road Accident at Black Spots Using Fuzzy Fault Tree Method
บทคัดย่อ (ไทย) านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่จุดอันตราย บนทางหลวงและวิเคราะห์ระดับความสำคัญของสาเหตุที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่จุด อันตรายบนทางหลวงในเขตความรับผิดชอบของแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 โดยประยุกต์เทคนิค การวิเคราะห์แบบฟัซซีฟอลท์ทรี (Fuzzy Fault Tree Analysis) มาศึกษาในรายละเอียดถึงสาเหตุและ ความเสี่ยงในการเกิดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการแก้ไข และประเมิน ประสิทธิภาพของมาตรการในเชิงปริมาณ การรวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงเพื่อกำหนดเป็นจุดอันตราย ใช้ข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงของแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2550 รวม 3 ปี โดยจุดอันตรายที่จะนำไปวิเคราะห์แยกออกเป็นจุดอันตรายสูงสุดสำหรับถนนช่วง ต่างๆ จำนวน 5 จุด กำหนดโดยใช้วิธีจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ (Accident Number Method) และจุดอันตรายสูงสุดสำหรับทางร่วมทางแยก จำนวน 5 จุด กำหนดโดยใช้วิธีดัชนีความรุนแรง (Severity Index) ได้เขียนแผนภาพฟอลท์ทรีของแต่ละจุดอันตรายในแต่ละรูปแบบลักษณะการชน ซึ่งการ เขียนแต่ละแผนภาพฟอลท์ทรีจะเป็นการเขียนโดยเริ่มจากกำหนดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอุบัติใน รูปแบบผังการชนต่างๆ เป็นเหตุการณ์สูงสุด (Top Event) จากนั้นจะนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำ ให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ไล่เรียงเป็นลำดับลงมาเป็นชั้นๆ จนถึงเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุโดย ไม่สามารถวิเคราะห์ต่อลงไปได้อีกจึงถือว่าเหตุการณ์นั้นอยู่ในลำดับชั้นล่างสุดถือว่าเป็นเหตุการณ์ พื้นฐาน (Basic Event) นำเหตุการณ์พื้นฐานที่ได้มาสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นต่อขนาดความเสี่ยงในรูปของตัวแปรภาษา (Linguistic Variable) ซึ่งเป็นข้อมูลแบบฟัซซี เพื่อวิเคราะห์ หาค่าความเป็นไปได้ (Possibility)ในการเกิดของเหตุการณ์พื้นฐานโดยการประยุกต์ทฤษฎีฟัซซีเซต ได้นำค่าของเหตุการณ์พื้นฐานไปวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของการเกิดสำหรับเหตุการณ์ ระดับบนตามเส้นทางของฟอลท์ทรี ซึ่งได้ผลนำไปสู่ค่าความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเหตุจราจรซึ่ง ถือว่าเป็นค่าความเป็นไปได้ของระบบ พบว่า อุบัติเหตุจราจรประเภทชนที่ทางแยก 60๐ - 150๐ ของ จุดอันตรายลำดับที่ 1 สำหรับทางร่วมทางแยก (สี่แยกกองพันสัตว์ต่าง) มีค่าความเป็นไปได้ในการ เกิดอุบัติเหตุจราจรสูงสุด คือ 0.0091458 และอุบัติเหตุจราจรประเภทชนสิ่งก่อสร้างถาวร เช่น สะพาน ราวเหล็ก ป้าย ของจุดอันตรายลำดับที่ 1 สำหรับถนนช่วงต่างๆ (ทางหลวงหมายเลข 118 ช่วงกม.8+000 – กม.9+000) มีค่าความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเหตุจราจรต่ำสุด คือ 0.0006290 สำหรับการแก้ไขปรับปรุงหรือลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่จุดอันตรายบนทาง หลวงในแต่ละจุดอันตราย ได้วิเคราะห์กำหนดหาแนวทางการแก้ไขสาเหตุพื้นฐานที่มีค่าความ เป็นไปได้สูงสุด 5 อันดับแรก และหาแนวทางการแก้ไขสาเหตุพื้นฐานที่จะลดโอกาสในการเกิด อุบัติเหตุจราจรของเส้นทางวิกฤต 5 อันดับแรก โดยประเมินจากชุดเหตุการณ์น้อยที่สุด (Minimal Cut Sets) ที่ได้จากการวิเคราะห์แผนภาพฟอลท์ทรีเชิงคุณภาพ โดยที่สาเหตุพื้นฐานที่ควรได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นหลัก เช่น การขับรถเร็ว การขับขี่ ในขณะมึนเมา การลักลอบกลับรถในจุดที่ห้ามกลับรถ เป็นต้น ส่วนสาเหตุพื้นฐานที่มาจาก องค์ประกอบด้านกายภาพของถนนและสภาพแวดล้อมที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข เช่น พื้นผิว ถนนเปียก อุปกรณ์ให้แสงสว่างไม่เพียงพอต่อการมองเห็นบริเวณจุดที่มืด เป็นต้น จากข้อเสนอแนะได้ประเมินความสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขสาเหตุพื้นฐานที่มีอิทธิพล ต่อการเกิดอุบัติเหตุในแผนภาพฟอลท์ทรีตามที่ได้แนะนำไว้ เพื่อหาค่าโอกาสในการลดลงของการ เกิดอุบัติเหตุในรูปแบบการชนชนิดต่างๆ ของแต่ละจุดอันตราย พบว่าอุบัติเหตุจราจรประเภทถูกชน ขณะเลี้ยวกลับรถตัดหน้ารถทางตรง ของจุดอันตรายลำดับที่ 2 สำหรับถนนช่วงต่างๆ (ทางหลวง หมายเลข 1001 ช่วงกม.11+000 – กม.12+000) มีค่าความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเหตุลดลงสูงสุด คือ 97.98 % และอุบัติเหตุจราจรประเภทเสียหลักตกถนนขณะวิ่งบนทางโค้งขวา ชนเสาไฟ ฯลฯ และเสียหลักตกถนนขณะวิ่งบนทางโค้งซ้าย ของจุดอันตรายลำดับที่ 3 สำหรับถนนช่วงต่างๆ (ทาง หลวงหมายเลข 121 ช่วงกม.43+000 – กม.44+000) มีค่าความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเหตุลดลง ต่ำสุด คือ 56.74 %
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The objectives of this study are to investigate causes of highway accidents and their severities at black spots in the area under responsibility of Chiang Mai Highway District 2. Accident causes and risks were studied and mitigation measures evaluated by Fuzzy Fault Tree Analysis method. Highway accident data in a responsible area of Chiang Mai Highway District 2 during years 2005-2007 (3 years) was collected to identify accident prone locations (Black spots). The chosen locations for investigation were the top five highest risk black spots of all road sections were identified by using Accident Number Method, and the top five locations of all intersections were identified by using Severity Index method. Fault tree diagram of each black spot for each accident type was constructed. This was done by identifying an occurrence of accident as Top Event. The fault events at the level below were then identified and so on until it could not be identified. Fault events at the lowest level were called Basic Events. Basic Events were then presented to experts for opinions on degree of risk in terms of Linguistic Variable. Fuzzy information given by experts was analyzed using Fuzzy set theory to determine the possibility of failure of Basic Events and the possibility of accident at top level (System failure possibility) could then be obtained. It was found that 60๐ - 150๐ collision at black spot No.1 of road intersections (Kongpansatthang Junction) was 0.0091458. The possibility of accident at black spot No.1 of road sections (Highway No. 118, km 8+000 - km 9+000), which was a crash to permanent structures such as bridge, steel bar, and sign was found to be 0.0006290. Five mitigation measures on highway accidents were performed by considering Minimal Cut Sets. It was found that Driver’s behaviors were basic causes of accident, e.g. fast driving, drunk, and not follow signs. Environmental conditions of road were also causes of accident, e.g. wet road and not enough lighting. Mitigation measures were proposed and their efficiency evaluated. It was found that the highest reduction of failure possibility was for an accident crash during turnaround with directdriving car at black spot No.2 of road sections (Highway No. 1001, km 11+000 - km 12+000) and was 97.98 %. The lowest reduction was for an accidentally leaving out road at right and left curves or a crash to light pole at black spot No.3 of road sections (Highway No. 121, km 43+000 - km 44+000) and was 56.74 %.
ผู้แต่ง วรเชษฐ์ ธนะชัยขันธ์
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชา และคณะ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2011
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2554
จำนวนหน้า -
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ
หมวดหมู่ แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Wednesday, November 19, 2014