TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การประเมินความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้โดยสารรถตู้โดยสารประจำทางระหว่างเมือง
An Assessment of Safety and Satisfaction of Intercity Van Passengers
บทคัดย่อ (ไทย) ระบบขนส่งสาธารณะระหว่างเมืองเป็นบริการสาธารณะที่มีความจำเป็นต่อประชาชน ซึ่งในปัจจุบันการเดินทางระหว่างเมืองโดยใช้รถตู้โดยสารประจำทางได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็ นอย่างมากและจากนโยบายของกรมการขนส่งทางบกที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางขนาดใหญ่เป็นรถตู้โดยสารประจำทางจึงทำให้มีจำนวนรถตู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพือประเมินความปลอดภัยของรถตู้โดยสารประจำทางระหว่างเมืองโดยพิจารณาจากพฤติกรรมการขับขีของคนขับและประเมินความพึงพอใจรวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยด้านต่างๆที่ควรปรับปรุงในการให้บริการจากมุมมองของผู้โดยสารโดยทำการศึกษาในเส้นทางที่ให้บริการระหว่างจังหวัดจำนวน 3 เส้นทางได้แก่ 1) สกลนคร – มุกดาหาร, 2) นครพนม – มุกดาหาร และ3) นครพนม – อุบลราชธานี ทำการประเมินพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับโดยใช้ผู้สำรวจ และใช้แอพพลิเคชั่น Safe Mate ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนรวมทั้งหมด 45 เทียวการเดินทาง สำหรับความพึงพอใจของผู้โดยสารทำการสำรวจเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้โดยสารจากทั้ง 3 เส้นทางจำนวนทั้งหมด 300 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับจากผู้สำรวจและข้อมูลที่ได้จาก Safe Mateได้ผลในทิศทางเดียวกัน โดยพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่เหมาะสมของคนขับที่พบมากที่สุดคือ การใช้ความเร็วอย่างไม่เหมาะสมเกินกว่าความเร็วที่กฎหมายกำหนดสำหรับการประเมินความพึงพอใจของผู้โดยสารพบว่าผู้โดยสารให้ความสำคัญมากกับปัจจัยในการให้บริการด้าน พฤติกรรมในการขับขี่ที่ไม่สุภาพของคนขับ และความแออัดของผู้โดยสารแต่กลับมีระดับความพึงพอใจที่น้อยในทั้งสองปัจจัยนี้
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The intercity public transport is a necessary public service for people. At present, intercity van transportation become more popular and from the policy of the Department of Land Transport which has permitted the operators to be able to substitute a heavy bus for a van, it causes an increasing number of passenger vans. This study aimed to assess safety of intercity passenger vans by considering the driving behavior of driver and assessing passengers’ satisfaction as well as analyzing for improved service factors by passenger perspective. The study was conducted for the three intercity van routes 1) SakonNakhon – Mukdahan, 2) NakhonPhanom – Mukdahan, and3) NakhonPhanom – UbonRatchathani. An assessment of the driver’s driving behavior was conducted by surveyors and smartphone application, SafeMate, for 45 times of travel. As for the passengers’ satisfaction, a survey questionnaire was employed to collect data from a total of 300 passengers of the three routes. The result indicated that the driver’s driving behavior data from surveyors are in accord with SafeMate application data. The improper driving behavior was speed limits violation. As for the passengers’ satisfaction, it was found that passengers gave much significance to the driver’s impolite driving behavior and passenger congestion while satisfaction of these two factors was low.
ผู้แต่ง สทาวีร์ เสฏฐ์คณา
วิรัช
หิรัญ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2014
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2557
สัมมนา ชื่องานสัมนา : ประชุมวิชาการ การขนส่งแห่งชาติ
ครั้งที่ : 9
จำนวนหน้า 13 หน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ Assessment of Safety; Passenger’s Satisfaction; Passenger Vans; Driving Behavior
หมวดหมู่ ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Saturday, August 1, 2015