TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง โครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย
บทคัดย่อ (ไทย) ปัจจุบันอุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ ผู้ได้รับอุบัติเหตุเกิดการบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ เนื่องจากในปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและมีราคาไม่แพงมาก จึงมีการใช้อย่างแพร่หลายในทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถจึงพบเห็นได้ทั่วไปบนท้องถนน จึงได้จัดทำโครงการวิจัยนี้ขึ้นเพื่อ สำรวจจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย เพื่อศึกษาการเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ และเพื่อทราบทัศนคติของประชาชนที่มีต่อ กฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ เนื่องจากขณะนี้ได้มีกฎหมายออกมาใช้บังคับแล้ว ดังนั้นจึงทำการสำรวจร้อยละของผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถทั้งก่อนและ หลังออกกฎหมาย โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีใบอนญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลทุก ประเภท จำนวน 10,000 คน ทั่วประเทศ 25 จังหวัด แบ่งเป็นส่วนภูมิภาค 24 จังหวัด (7,713 คน)และกรุงเทพมหานคร (2,283 คน) ผลการศึกษาพบว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับ รถยนต์ในประเทศไทย ที่ถ่วงน้ำ􀁔หนักแล้ว มีประมาณ 11,542,723 คน คิดเป็นร้อยละ 81.6 มีการเกิดอุบัติเหตุเมื่อใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์จำนวน 729,997 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 และมีการเกือบจะเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 1,152,999 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 สำหรับทัศนคติของประชาชนจากผู้ตอบแบบสอบถาม 9,652 คน ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถเป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 8,470 คน คิดเป็นร้อยละ 87.8 และทัศนคติที่มีต่อกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีความเหมาะสม จากผู้ตอบแบบสอบถาม 9,996 เห็นด้วยจำนวน 8,030 คน คิดเป็นร้อยละ 80.3 สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง พบว่าปัจจัยที่เสริมให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มากกว่า 5 นาที รูปแบบการใช้คือรับส่ง SMS/MMS/GPRS/e-mail และอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มความเสี่ยงคือ บลูทูธและการใช้แบบไม่แน่นอน ส่วนปัจจัยที่เพิ่มความปลอดภัยได้แก่ การปล่อยให้โทรศัพท์ดังจนกระทั่งสายหลุดไปเมื่อมีสายเรียกเข้าและการใช้แฮนด์ฟรี (สมอล์ทอล์ก) เมื่อจำเป็นต้องรับสาย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนถึงความเสี่ยง เมื่อเทียบกับงานวิจัยอื่นๆ ของต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามหากมีการนำโทรศัพท์ขึ้นรถนับได้ว่า มีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากหากมีเสียงเรียกเข้า ผู้ขับรถอาจเสียสมาธิในการขับรถได้ ดังนั้นควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดเนื่องจากแม้กฎหมายจะมีการใช้บังคับในปัจจุบันแต่ยังมีผู้ฝ่าฝืน และเจ้าหน้าที่ยังไม่จริงจังเท่าที่ควร ควรมีการกำหนดจุดรับสายหรือโทรศัพท์บนท้องถนนเพื่อผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์จะได้สามารถโทรศัพท์ได้โดยไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎจราจรและไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย นอกจากนี้การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้ประชาชนเข้มงวดและ ตระหนักในความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถ ปฏิบัติได้ในขณะนี้
บทคัดย่อ (อังกฤษ)
ผู้แต่ง นางกาญจนา ศรีสวัสดิ์
หน่วยงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ผู้สนับสนุน กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
ผู้จัดพิมพ์ กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2009
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2552
จำนวนหน้า 83 หน้า
ประเภทเอกสาร รายงาน
คำสำคัญ พฤติกรรม; อุบัติเหตุ; การใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ; ทัศนคติ
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การใช้โทรศัพท์; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Thursday, December 17, 2015