TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง สิ่งคุกคามต่อสุขภาพและอุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงานของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน
Health hazards and traffic accidents during the operations of emergency vehicle drivers
บทคัดย่อ (ไทย) การปฏิบัติหน้าที่ของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินในประเทศไทย พบมีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ตลอดจนความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความเสี่ยงจากการทำงานของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ข้อมูลสุขภาพทั่วไป การรับสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพจากการทำงาน และการเกิดอุบัติเหตุจราจรในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ และอุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงานของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน ทำการสำรวจในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ ์ 2559 - 31 มีนาคม 2559 โดยการสัมภาษณ์แบบต่อหน้าในคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินจำนวนทั้งสิ้น 199 คน ซึ่งทำงานให้กับโรงพยาบาล 1 แห่ง และมูลนิธิกู้ภัย 3 แห่ง ในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36.7 ปี สถานภาสมรส และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรืออาชีวศึกษา มีผู้ที่สูบบุหรี่ร้อยละ 27.6 ดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 33.2และออกกำลังกายเป็นประจำร้อยละ 56.8 กลุ่มตัวอย่างต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในระหว่างการปฏิบัติงานหลายปัจจัย เช่น สัมผัสเลือดจากผู้ป่วย (ร้อยละ 49.3) และยกของหนัก (ร้อยละ 46.2) มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน42 คน รายงานการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาการทำงาน จำนวน 56 ครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดอุบัติเหตุจราจรคือ การชนยานพาหนะคันอื่น (ร้อยละ 67.8 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด) ในระหว่างช่วงเวลา20.01-24.00 น. (ร้อยละ 33.9) ด้วยความเร็วในการขับขี่ 81-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ร้อยละ 42.9) และทำให้ เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อยต่อคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน (ร้อยละ 80.4) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ควรให้ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ถูกต้องเหมาะสม และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อาจทำให้คนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉินมีพฤติกรรมสุขภาพ และสุขภาพที่ดีขึ้น
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Emergency vehicle drivers were at risk of exposure to health hazards as well as the risk of traffic accidents during the operations. In order to understand the risks during their operations in terms of general health information, exposure to occupational hazards and traffic accidents. The objective of this cross-sectional analytic study was to survey health hazards and traffic accidents during their operations. The survey was conducted from 1 February 2016 - 31 March 2016. Direct interviews were performed in 199 emergency vehicle drivers from 1 hospital and 3 rescue foundations located in Chonburi province. Most of all participants were male, the average age was 36.7 years, married, and graduated from high schools or vocational education institutes. Participants were smoking cigarette 27.6%, drinking alcohols 33.2%, and regularly exercising 56.8%. They were exposed to many occupational hazards such as contacting with patients’ blood 49.3% and heavy lifting 46.2%. Fifty-six traffic accidents were reported from 42 participants during their operation. A major cause of these accidents was collisions with another vehicle or others (67.8% of total accidents), during 20.01-24.00 o’clock (33.9%), at speed of 81-100 kilometers/hour (42.9%), and cause to minor injuries to the drivers (80.4%). The recommendations from this study should provide health education, knowledge of occupational hazards, using personal protective equipment properly and health promotion activities. They were able to promote healthy for emergency vehicle drivers.
ผู้แต่ง นภัสวรรณ พชรธนสาร
วิวัฒน์
เอกบูรณะวัฒน์
รัชนี
คนึงคิด
มาลินี
บุณยรัตพันธุ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2016
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2559
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารควบคุมโรค
ปีที่ : 42
ฉบับที่ : 4
หน้า 304-314
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ; อุบัติเหตุจราจร; คนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน; ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน; สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Friday, February 24, 2017