TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมและความบกพร่องของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรมที่มีผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจร
Risk Factors on Behavior and Impairments of Motorcycle Riders in an Industrial Area Affecting the Severity of Traffic Accidents
บทคัดย่อ (ไทย) อุบัติเหตุจราจรทางบกนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จึงดำาเนินการวิจัยเชิงสำารวจแบบตัดขวาง เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมและความบกพร่องของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรมที่มีผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจร กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่น้อยกว่า 3 ปี ในเขตอุตสาหกรรมที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำานวน 580 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ อัตราส่วนออดส์(Odds Ratio) และการถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรเรียงตามลำาดับความเสี่ยงจากมากไปน้อย คือการไม่สวมหมวกนิรภัย (ORAdj= 6.47, 95% CI:3.60-11.66) การขับตามหลังรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด(ORAdj = 4.30, 95% CI: 2.10-8.81) การขับขี่ย้อนทางเดินรถ (ORAdj = 4.16, 95% CI: 1.67-10.36) การขับขี่รถตัดหน้ากระชั้นชิด (ORAdj = 4.14, 95% CI: 2.44-7.03) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORAdj= 2.89, 95% CI: 1.85-4.53) และการไม่มีความรู้เรื่องกฏจราจร (ORAdj = 1.57, 95% CI: 1.02-2.41)โดยมีความสามารถทำานายได้มากกว่าร้อยละ 23 ดังนั้นควรเร่งหามาตรการเฉพาะในการเพิ่มการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขี่รถจักรยานยนต์ ไม่ขับตามหลังรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด หรือขับขี่ย้อนทางเดินรถไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อขี่รถจักรยานยนต์และการเสริมความรู้เรื่องกฏจราจรให้กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Road traffic accidents dramatically increase the severity of problems. This crosssectional study aimed to explore risk factors on behavior and impairments of motorcycle riders in an industrial area that affects the severity of traffic accidents. The study sample comprised 580 peoples who had redden motorcycle at least 3 years in the industrial area by simple random sampling. Data was collected using questionnaires having a reliability level more than 0.7. Data were analyzed in terms of frequency, percentage, odds ratio and logistic regression. The study revealed that risk factors that affected the severity of traffic accidents included not wearing a helmet (ORAdj = 6.47, 95% CI: 3.60-11.66), driving behind another vehicle at a close distance (ORAdj = 4.30, 95% CI:2.10-8.81), driving in the opposite directional lane (ORAdj = 4.16, 95% CI: 1.67-10.36), pulling in front of another vehicle suddenly (ORAdj = 4.14, 95% CI: 2.44-7.03), alcohol consumption (ORAdj = 2.89, 95% CI: 1.85-4.53) and lack of awareness of traffic laws (ORAdj= 1.57, 95% CI: 1.02-2.41). It could predict accurately more than 23%. Therefore, urgent guidelines should be specifically engage to increase helmet wearing and to eliminate driving behind another vehicle at a close distance, driving in the opposite directional lane, pulling in front of another vehicles suddenly, alcohol consumption when driving and continuously promote awareness of traffic laws.
ผู้แต่ง ธนัญชัย บุญหนัก
กุหลาบ
รัตนสัจธรรม
ชิงชัย
เมธพัฒน์
ทนงศักดิ์
ยิ่งรัตนสุข
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2016
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2559
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารสาธารณสุขศาสตร์
ปีที่ : 46
ฉบับที่ : 3
หน้า 261-270
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ความรุนแรง; พฤติกรรมเสี่ยง; รถจักรยานยนต์; อุบัติเหตุ; การป้องกัน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; หมวกนิรภัย; การขับขี่ย้อนศร; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/63958
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Tuesday, November 1, 2022