TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง โครงการการศึกษาพฤติกรรมและความตระหนักต่อการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์
บทคัดย่อ (ไทย) ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของคนไทยอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนใหญ่อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจากรถจักรยานยนตร์มากที่สุด เมื่อเทียบกับอุบัติเหตุจากการเดินทางด้วยพาหนะอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บรวมถึงเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากรายงานความปลอดภัยทางถนนโลกในปี 2556 โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization Global Status Report on Road Safety, 2013) ได้ทำการสำรวจ 182 ประเทศ พบว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกสูง ถึง 1.24 ล้านคนต่อปีและอัตราผู้ได้รับบาดเจ็บสูงถึง 20-50 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้การสำรวจในปี 2557 สถิติระบุว่าผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมีจำนวน 44 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี โดยประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประชากรไทยมีจำนวน 5,100 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี (เฉลี่ย 5.1% ของอัตราการ เสียชีวิตโดยรวม)

จากข้อมูลทางสถิติพบว่าในประเทศไทยอัตราการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนตร์ ของประชาชนจัดอยู่ในระดับต่ำโดยในปี 2556 ผู้ใช้รถจักรยานยนตร์เฉลี่ยสวมหมวกนิรภัยเพียงร้อยละ 43 และไม่สวมหมวกนิรภัยถึงร้อยละ 57 ไทยโรดส์หรือเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังได้ศึกษาอัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้จักรยานยนตร์ทั้งประเทศโดยจัดอันดับ 10 จังหวัดที่มีอัตราสวมหมวกนิรภัยสูงสุดตามภาคของประเทศไทย

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุของผู้ใช้รถจักรยานยนตร์ พบว่าวัยผู้ใหญ่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 49 ส่วนวัยเด็กสวมหมวกนิรภัยน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 7 และจากการศึกษาของไทยโรดส์พบว่า สาเหตุที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์เลือกที่จะไม่สวมหมวกนิรภัยเนื่องจากขาดความตระหนักถึง ความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัย โดยทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์มากกว่าร้อยละ 60 ไม่สวมหมวกนิรภัยเพราะเห็นว่าเป็นการเดินทางในระยะใกล้นอกจากนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์มากกว่าร้อยละ 30 ไม่สวมหมวกนิรภัยเพราะมีความเห็นว่าไม่ได้ขับขี่ออกถนนใหญ่ รวมถึงลักษณะของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์เองที่ส่งผลต่อการไม่สวมหมวกนิรภัยโดยร้อยละ 31 ของผู้ขับขี่และร้อยละ 29 ของผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์ ไม่สวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพราะมีลักษณะการเดินทางที่เร่งรีบจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารเลือกที่จะไม่สวมหมวกนิรภัยนั้นเนื่องจากขาดความตระหนักต่อความสำคัญของหมวกนิรภัย รวมถึงขาดความตระหนักต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการไม่สวมหมวกนิรภัยเนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนตร์ย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สินทั้งที่ประเมินเป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

นอกจากนี้จากรายงานความปลอดภัยทางถนนโดยองค์การอนามัยโลกยังมีการเปรียบเทียบระดับ การบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคอาเซียน พบว่าประเทศไทยมีระดับการบังคับ ใช้กฎหมายหมวกนิรภัยต่ำกว่า ประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และลาว

จากข้อมูลดังกล่าว กรมการขนส่งทางบกจึงได้จัดโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจักรยานยนตร์หันมาสวมหมวกนิรภัยผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้หันมาสวมหมวกนิรภัยเพิ่มมากขึ้น (เว็บไซด์กรมการขนส่งทางบก)

เพื่อสนับสนุนให้โครงการดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้ คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักและพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนตร์ทั่วไปและผู้ได้รับหมวกนิรภัยจากโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย ด้วยการเปรียบเทียบตามลักษณะของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์ ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระดับ การศึกษา ภูมิลำเนา เพื่อนำผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักมาใช้เป็นแนวทางในการกระตุ้นให้ผู้ใช้รถจักรยานยนตร์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาสวมหมวกนิรภัยมากขึ้น และผลที่ได้จากเปรียบเทียบตามลักษณะของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์สามารถ นำมาใช้ในการวางแผนจัดรูปแบบโครงการรณรงค์ สวมหมวกนิรภัยให้เหมาะสมตรงตามลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการต่อไป คณะผู้วิจัยได้นำข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาจัดทำโครงการนำร่อง ในทุกภาค ภาคละ ๑ พื้นที่ โดยพื้นที่ที่เลือกมาจัดทำโครงการ จะเลือกจากพื้นที่ที่มีผลการวิจัยชี้ว่า มีระดับความตระหนักต่ำสุดในภาคนั้นๆ สำหรับกลุ่มเป้าหมายจะเลือกจากกลุ่มบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากผลวิจัยที่ได้
บทคัดย่อ (อังกฤษ)
ผู้แต่ง ศิริชัย พงษ์วิชัย
อดิลล่า
พงศ์ยี่หล้า
บุญญาดา
นาสมบรูณ์
ธนสร
กิรัมย์
สุมาลี
สมนึก
วัชรายุธ์
โสตถิทัต
หน่วยงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้สนับสนุน กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.)
ผู้จัดพิมพ์ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2016
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2559
จำนวนหน้า 485 หน้า
ประเภทเอกสาร รายงาน
คำสำคัญ รถจักรยายนต์; การสวมหมวกนิรภัย; อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์; ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนตร์; อัตราการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนตร์
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; ปัญหาอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมาย; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Thursday, August 24, 2017