TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ:วิเคราะห์กลุ่มพหุ
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมโมเดล ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอนปลายในเขตภาคเหนือระหว่างเพศชายและเพศหญิงกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 1,200 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 600 คน และเพศหญิง 600 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและประยุกต์ใช้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีค่าความเชื่อมั่น อยู่ ระหว่าง 0.725-0.851 การวิเคราะห์ข้อมูล มีการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยัน วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ และการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการขับ ขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบด้านแรงสนับสนุนจากภาคี องค์ประกอบการคล้อยตามกลุ่ม องค์ประกอบด้านการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม องค์ประกอบด้านประสบการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุ องค์ประกอบด้านความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและหมวกนิรภัยและองค์ประกอบด้าน พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2.ผลการตรวจสอบค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อ พฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ โมเดลประหยัด พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบไค-สแควร์ มีค่า เท่ากับ 794.628 ค่า p-value เท่ากับ 0.000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 163 ค่า X 2/ df = 4.875 ค่า CFI เท่ากับ 0.913 ค่า GFI เท่ากับ 0.939 ค่า AGFI เท่ากับ 0.905 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.062 ค่า สัมประสิทธิ์พยากรณ์ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.930 แสดงว่า ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือได้ร้อยละ 93.00 3. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือระหว่างเพศ ชายและเพศหญิง พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือระหว่างเพศชายและเพศหญิง มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่จะมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุของตัว แปรแฝงภายนอกไปยังตัวแปรแฝงภายใน และมีความแปรเปลี่ยนของ ค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมระหว่างตัวแปรแฝงภายนอก ซึ่งโมเดลตามสมมติฐานที่ 7 โดยการกำหนดเงื่อนไขเพิ่ม ให้ค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรแฝงภายนอก โดยมีการกำหนดให้ค่าพารามิเตอร์ดังกล่าวมีค่าเท่ากัน ทำให้โมเดล ที่มีความกลมกลืนและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โมเดลและไม่มีความแปรเปลี่ยนระหว่างเพศ ชาย และเพศหญิง
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The purposes of this research were 1) to validate direct and indirect effects of the causal factor model that affect safety behavior in driving among highschool students in the northern region of Thailand, 2) to examine the consistency of the model with the empirical data, and 3) to test the invariance of the model between male and female students. Participants of this research were 1,200 highschool students, 600 males and 600 females, they were selected by using multistage random sampling technique. The instrument used for collecting data was five-rating scale questionnaires developed by the researcher. Its reliability was between 0.725-0.851. Data were analyzed by basic statistics, confirmatory factor analysis, causal factor analysis, and multiple group structural equation model analysis. Results were that 1) The validity of the causal model consists of six variables that affected directly and indirectly on the safety behavior in driving among the highschool students in the northern region, they were the peer support, peer infuence norm, perceived behavior control, accident experience knowledge about traffic rules and helmet, and safety behavior in driving. These factors fit to the empirical data; 2) The model factors these affected safety behavior in driving among the highschool students in the northern region well fit to the empirical data as the Chi-square goodness of fit test was 794.628, df = 163, p-value = 0.000, X 2/ df = 4.875, GFI = 0.939, CFI = 0.913, AGFI = 0.905, and RMSEA = 0.062. The model was able to account for 93.00 % of variance in safety behavior in driving among the highschool students; and 3) there was an invariance of the model between male and female students but there were changes of the parameters of the matrix effects of exogenous factor variances to edogenous factor variances, and of the parameters of the matrix of variance-covariance between exogenous factor variances. Based on the assumption 7 and by adding condition equal of the parameters of the regression coefficient matrix of observed variables on exogenous factor variances, the model was harmonious and consistent with empirical data. The invariance of the causal model consisted of variables those had direct and indirect effects on the safety behavior in driving among the highschool students in the northern region between male and female students
ผู้แต่ง บัณฑิต ตั้งกมลศรี
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ภาควิชา และคณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบผลงาน วิทยานิพนธ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2016
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2559
จำนวนหน้า 236 หน้า
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ พฤติกรรมการขับขี่; เขตภาคเหนือ; ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย; โมเดลสมการโครงสร้าง ; การวิเคราะห์พหุกลุ่ม
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Thursday, August 24, 2017