TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน
The Development model of participation to prevent road traffic accident by engaging multilateral networks in Lamphun Province.
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรโดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือ ข่าย และลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตในจังหวัดลำพูน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การติดตามสังเกตการณ์ และการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยภาคีเครือข่ายที่รับผิดชอบงานอุบัติเหตุจราจร จำนวน 30 คนเก็บข้อมูลด้วย การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กันยายน - ธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การส่งเสริม สนับสนุนการทำงานแบบบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่าย มีการวางแผนปฏิบัติงาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยง ประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา มอบหมายภารกิจการแก้ไขด้านวิศวกรรมจราจร ปรับปรุงถนน สิ่งแวดล้อม การบังคับใช้กฎหมาย บริการแพทย์ฉุกเฉิน และติดตามและประเมินผล ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลการเสียชีวิต 3 ฐาน ถูกต้อง ครบถ้วน ใช้ข้อมูลวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิต สามารถนำไปใช้การวางแผนระบุมาตรการการป้องกันอุบัติเหตุให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ การพัฒนารูปแบบโดยการมีส่วนร่วมทีมเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ดำเนินกิจกรรมร่วมกันตั้งแต่การวางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมินผลการสะท้อนข้อมูลกลับ และมีการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ไปไว้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ผลลัพธ์ที่ได้ คือลดอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรลงร้อยละ 18.49 อัตราตายลดลงจาก 36.41 ต่อแสนประชากร เป็น 26.32 ต่อแสนประชากร ข้อเสนอแนะพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิต แก้ไขจุดเสี่ยง และสิ่งแวดล้อม เพื่อการใช้ประโยชน์กำหนดแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This study developed a model to prevent traffic accidents through participation of the network in Lamphun Province. The four steps of planning, acting, observing and reflecting were involved. The target group for this study included 30 provincial committee members who were assigned this task to solve the problems. Data were collected from September- December 2016 using record forms, report meeting, group discussion, observation and in-depth interviews. Descriptive statistics and content analysis. The result found that there was participation among the network as followed promoting, supporting and integration on risk assessment planning meeting to find solutions solving traffic accidents, survey risk area and meet solution renewable road engineering, environment. Law enforcement and emergency Medical service and evaluation. Used of information system to develop three empirical death databases from multiple units with integrity, can be used to plan the identification of accident prevention measures to suit the context of the area, including an evaluation process. The development of the model by engaging the network teams were public, private and public. Co-ordinate activities from planning, implementation, evaluation and reflection. The Emergency Medical Dispatch center 1669 was transfer to Lamphun Provincial Administrative Organization. The result traffic accident injury rate was reduced by 18.49%. The death rate from 36.41 per 100,000 populations was 26.32 per 100,000 populations. Recommendations develop a system for collecting injuries and deaths. Edit risk points and environment In order to utilize, the guidelines for preventing and solving traffic accidents in the area can be sustainable.
ผู้แต่ง กาญจนา เลิศวุฒิ
วันเพ็ญ
โพธิยอด
ชัยธรณ์
อุ่นบ้าน
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2018
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2561
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารสาธารณสุขล้านนา
ปีที่ : 14
ฉบับที่ : 1
หน้า 46-59
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ การพัฒนา; อุบัติเหตุจราจร; การมีส่วนร่วม; แนวทางการป้องกัน; บูรณาการ
หมวดหมู่ จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; การประเมินระดับความปลอดภัยของถนน; ประสิทธิภาพของมาตรการด้านวิศวกรรม ; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การให้บริการหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; ระบบรายงานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/158744
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Friday, August 5, 2022