TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ภาคการศึกษาเพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Factors Ralated to Student’s Behaviors of Helmet Usage : A Case Study of students at Nakhon Ratchasima Rajabhat University
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาภาคการศึกษาเพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมาศึกษาจำนวน 360 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่า IOC และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุมากกว่า 20 ปี กำลังศึกษาในคณะวิทยาการจัดการ โดยกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 เคยประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์และได้รับบาดเจ็บผิวหนังถลอกจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สำหรับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหมวกนิรภัย กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับดีมาก ร้อยละ 75 ทัศนคติต่อการสวมหมวกนิรภัยเชิงบวก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 66.10 พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยเชิงบวก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 64.20 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาภาคการศึกษาเพื่อปวงชนคือทัศนคติ (r = 0.113 ,p-value < 0.05)
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This research aimed to 1) to study the knowledge, attitude, behaviors and 2) to study factors affecting on student’s behaviors helmet usage. A total of 360 students who ride motorcycles were collected by using questionnaire as a research tool. Data were analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and Spearman Correlation Coefficient This research found that the most of samples were female, aged more than 20 years old, studying in the Faculty of Management Science in the third year. They having accidents from motorcycle driving, and were injured, abrasion from the accident. But they didn’t stay at the hospital. For student’s behaviors of helmet usage found that the samples group wore out every time when driving a motorcycle for a distance of 5 to 10 kilometers. They had been punished by not wearing a helmet from police officers. In terms of knowledge, the samples learned that head injuries occurred during the accident. For knowledge about helmet laws the sample had a very good level of knowledge, 75 percent. Attitude towards wearing a helmet was positive at a good level, 66.10 percent. The behaviors of wearing a positive helmet in the level of 64.20 percent. Factors related to the helmet wearing behavior of students are attitudes (r = 0.113, p-value <0.05)
ผู้แต่ง พนิดา เทพชาลี
กาญจนาพร
อาบสุวรรณ
นิวัฒนา
เข็มสุวรรณ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2019
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2562
สัมมนา ชื่องานสัมนา : การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”
ครั้งที่ : 6
จำนวนหน้า 10 หน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ ความรู้; ทัศนคติ; พฤติกรรม; หมวกนิรภัย; รถจักรยานยนต์
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_97.pdf
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Friday, August 5, 2022