ชื่อเรื่อง |
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนกับพฤติกรรม
การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Relationship between Perceived Causes of Road Accident and Behavior. Prevention of Accidents Among People in Hatyai Municipality Area Hatyai District, Songkhla Province. |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัย คือ กลุ่มประชากรช่วงอายุ 15 - 29 ปี
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 383 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายด้วยวิธีหยิบฉลาก แบบไม่ใส่กลับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์สถิติ Pearson product-moment correlation Coefficient
ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.70 และระดับ
พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.90 การรับรู้เหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
บนท้องถนนกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีความสัมพันธ์กันแบบมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value.< 0.001,r = -2.89
ดังนั้น เจ้าหน้าที่สุขภาพควรประยุกต์การรับรู้เหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนกับพฤติกรรม
การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของประชาชนในการส่งเสริม ป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน
[-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
The objective of this analytical cross-sectional research was to study the relationship between accident awareness and road accident prevention behavior in the region of Hat Yai Municipality. Hat Yai District, Songkhla Province, the sample group that participated in the research, namely the 15-29 age group. Hat Yai District, Songkhla Province, 383 people. The researcher used a simple random sampling method using the backless label selection method. The tool used to collect data in this research was a questionnaire. Data collection was carried out in October - November. Analyze data using descriptive statistics and hypothesis testing. Statistical analysis. Pearson product-moment correlation Coefficient.
The research results showed that the perceived level of the accident was high, 87.70%, and the accident prevention behavior was at the moderate level, 65.90%. On the roads and accident prevention behaviors of residents of Hat Yai Municipality, Hat Yai District, Songkhla Province were statistically significant P-value < 0.001, r = - 2.89 Therefore, health workers should apply their awareness of road accidents to public accident prevention behaviors by promoting the prevention of accidents which are the current cause of death among people.
[-] |
ผู้แต่ง |
อรฤทัย อับดุลหละ
สะพีอิน เจ๊ะเง๊าะ
นิศารัตน์ ประสีทอง
ซาลีน่า พันชู
|
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) |
2020 |
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) |
2563 |
สัมมนา |
ชื่องานสัมนา : การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11
ครั้งที่ : 11
|
จำนวนหน้า |
10 หน้า |
ประเภทเอกสาร |
บทความงานสัมมนาวิชาการ |
ประเภทของงานสัมมนา |
ภายในประเทศ |
คำสำคัญ |
อุบัติเหตุบนท้องถนน; สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ; พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ; การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์; เทศบาลนครหาดใหญ่ |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน |
ภาษา |
ภาษาไทย |
ลิงค์แหล่งที่มา |
http://www.hu.ac.th/conference/proceedings2020/doc/G6/G6-3-076He-OP_%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B0%20(P1052-1061).pdf |
ไฟล์ดาวน์โหลด |
|
อัพเดทล่าสุด |
Friday, August 5, 2022 |