ชื่อเรื่อง |
ผลของรูปแบบการดำเนินงาน D-RTI Plus ต่อการป้องกันการบาดเจ็บ
และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เขตสุขภาพที่ 3 Result of D-RTI Plus Model Procedure for Prevention of Injuries and Deaths from Traffic Accidents in Regional Health Area 3. |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดำเนินงาน District Road Traffic Injury Plus ต่อการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เขตสุขภาพที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็น เครือข่ายระดับอำเภอที่มีความสมัครใจเข้าร่วมดำเนินการ จำนวน 54 อำเภอ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 โดยรูปแบบการดำเนินงานได้ประยุกต์จากแนวคิดการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนขององค์การอนามัยโลก หรือกลยุทธ์ 5ส. และเครื่องมือ 5 ชิ้น ของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ภายใต้กรอบกิจกรรม 9 กิจกรรม โดยมีเกณฑ์การดำเนินงานระดับดีมาก และดีเยี่ยม ตามแนวทางของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที่ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานสาธารณสุขอำเภอ รูปแบบการดำเนินงานได้ผลักดันให้ชุมชนร่วมกันคัดเลือกประเด็นปัญหาอุบัติเหตุที่สำคัญในพื้นที่ นำมาวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิต้นไม้ เพื่อหารากของปัญหาที่แท้จริง นำไปสร้างมาตรการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุได้ตรงจุด ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผ่านระดับดีมากขึ้นไป ร้อยละ 100 โดยอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 90.74 และระดับดีเยี่ยมร้อย
ละ 9.26 กลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาอุบุัติเหตุทางถนนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่งผลให้จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตลดลง จำนวน 25 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 46.29 ผลการวิจัย ทำให้ผลการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนเขตสุขภาพที่ 3 อยู่ในระดับที่สูงขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ส่งผลให้การบาดเจ็บและเสียชีวิตลดลงในพื้นที่ที่ดำเนินงานทั้งในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน มีนวัตกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของชุมชนเอง ควรนำไปขยายผลการขับเคลื่อนความปลอดภัยของชุมชน เพื่อเกิดการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุครอบคลุมทุกพื้นที่ ช่วยลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเขตสุขภาพที่ 3 ได้อย่างยั่งยืน
[-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
This study, a quasi-experimental one group pretest-posttest design, had a purpose to study on the results of District Road Traffic Injury Plus Model procedure affecting to the prevention of injuries and deaths from traffic accidents in Regional Health Area 3. The samples were volunteers of the district networks from 54 districts during October 1, 2018 to September 30, 2019. The process was applied from the traffic accident prevention idea of the World Health Organization or 5ส’s Strategy and 5 Tools of Thailand Road Safety Policy Foundation, under the activity framework of nine activities, with Excellent and Advanced levels at process determination follow the guideline of Bureau of Non-Communicable Diseases and Department of Disease Control, Ministry of Public Health.
The data were analyzed using Frequency Distribution, Mean, Arithmetic Mean, Standard Deviation, and t-test. The results indicated that the most samples were the core team of the district public health centers. The District Road Traffic Injury Plus procedure made the communities cooperate in an identification for the major causes of traffic accidents in the associate neighborhood, and bring into an analysis by Problem Tree to find out the true root of problems in order to determine the effective preventing policies. This led to the samples’ higher levels of procedure achievement by statistical significance at 0.05, accounted 90.74% Excellent, and 9.26% Advanced, respectively. The samples did more activities for the traffic accident prevention in the neighborhood than before with statistical significance at 0.05 leading to 46.29% decrease of the injuries and deaths among 25 districts. The study of District Road Traffic Injury Plus led to the more satisfied results of the effort to prevent injuries and deaths from the traffic accidents in Regional Health Area 3. There was a cooperation among the associates network that helped
decrease the injuries and deaths in the neighborhood, both in the village, sub-district, and district scale. Moreover, it led to the innovation of the communities themselves to prevent the accidents, which should be fatherly expanded and brought into the mechanism of Thailand Road Safety Policy Foundation and the Department of Local Administration in order to resolve the problems extensively, and to decrease
[-] |
ผู้แต่ง |
ศศิกานต์ มาลากิจสกุล
|
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) |
2020 |
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) |
2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร : วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
ปีที่ : 14
ฉบับที่ : 1
|
หน้า |
25-34 |
ประเภทเอกสาร |
บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ |
ประเภทของวารสาร |
ภายในประเทศ |
คำสำคัญ |
การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน; การบาดเจ็บ; อุบัติเหตุทางถนน |
หมวดหมู่ |
การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การประเมินระดับความปลอดภัยของถนน; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ |
ภาษา |
ภาษาไทย |
ลิงค์แหล่งที่มา |
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/223832 |
ไฟล์ดาวน์โหลด |
|
อัพเดทล่าสุด |
Wednesday, November 10, 2021 |