ชื่อเรื่อง |
ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา Results of Community Checkpoint Management to Road Accident Prevention, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการด่านชุมชน และศึกษาผลการจัดการด่านชุมชนในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ในพื้นที่ 5 ตำบล เก็บข้อมูลวิจัยตามเวลา 4 ช่วงของวันหยุดยาวต่อเนื่อง แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มผู้ขับขี่ยานพาหนะ เครื่องมือที่ใช้เป็นทั้งเครื่องมือเชิงกระบวนการ และเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการด่านชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน คือ หลัก “4S” และ “SARIME” พบว่า ทั้ง 5 พื้นที่มีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับดีมาก และด้านผลการจัดตั้งด่านชุมชนพบว่า มีจำนวนการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 180 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 187 คน ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เป็นจักรยานยนต์ ซึ่งพบถึงร้อยละ 82.8 ด้านพฤติกรรมผู้ขับขี่และผู้โดยสารพบว่า ผู้ขับขี่ร้อยละ 17.8 มีอาการเมาสุราเช่นเดียวกับผู้โดยสาร ผู้ร่วมเดินทางซึ่งพบร้อยละ 27.5 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ขับขี่ร้อยละ 23.3 และผู้โดยสารร้อยละ 38.0 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยหรือสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ และ ร้อยละ 40.3 ขับรถเร็วหรือมีพฤติกรรมขับขี่ที่อันตราย อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ถูกเรียกตรวจและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้ถูกดำเนินการทั้งในรูปแบบมาตรการทางสังคม และมาตรการทางกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม การจัดการด่านชุมชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งการสร้างพฤติกรรมการขับขี่ที่ถูกต้องของผู้ขับขี่และผู้โดยสารยังคงเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้การวิจัยครั้งต่อไปจำ เป็นต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมการขับขี่ที่ดีของประชาชนในอนาคต
[-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
This research is participatory action research (PAR), aimed to community checkpoint
management (CCM) guideline development, and studied results of them to road accident (RA) prevention also, as since, 2020, April to August, which divided to four periods of continually long weekend. The ve sub-districts were selected to research conduction. The targets were separated to two groups, as rst was implementors, and driver and passenger were second group. Tools were set as a both of processes and data gathering tools. Descriptive statistic was used to data analysis.
The results found “4S” and “SARIME” were a guideline of CCM to road accident prevention. On CCM preparing found that all of them had prepared to CCM as an excellence level. Including, the results of CCM operation reported number of RA as 180 times, 187 cases of injury, there was not dead. The most of vehicle accident type was motorcycle as 82.8%. Moreover, the inappropriate behavior of them was within a drunker or alcohol drinking, in the driver as 17.8%, and the passenger as 27.5%, and also 23.3% of the driver who had been without a seat belt fastening or a helmet wearing, and as well as 38.0% of the passenger. And then, 40.3% of the driver had driven speedily over more than regulation or be risk to dangerous driving, as the same time, those of them had
been informed or advised with social measure and law enforce to their behavior improvement when they were inspected by the Officer.
However, the efciency and effectiveness were composed from many factors, especially,
the appropriate behavior of driver and passenger. So, the appropriate behavior improvement for both was essential conduction to RA prevention. Thus, the next research conduction will be creation of innovation to appropriate behavior of them.
[-] |
ผู้แต่ง |
สมบูรณ์ จิตต์พิมาย
|
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) |
2021 |
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) |
2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร : วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ : 7
ฉบับที่ : 1
|
หน้า |
237-255 |
ประเภทเอกสาร |
บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ |
ประเภทของวารสาร |
ภายในประเทศ |
คำสำคัญ |
ด่านชุมชน; อุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วม; หลัก 4S; หลัก SARIME |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; การใช้ความเร็ว; หมวกนิรภัย; เข็มขัดนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ |
ภาษา |
ภาษาไทย |
ลิงค์แหล่งที่มา |
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/252514 |
ไฟล์ดาวน์โหลด |
|
อัพเดทล่าสุด |
Wednesday, December 1, 2021 |