TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง รูปแบบการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดอุทัยธานี
The Model of Mobilization Organizational Measures on Road Safety,Uthai Thani
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิง ปริมาณ กำหนดขั้นตอนการดำเนินการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานมาตรการองค์กรความปลอดภัยทางถนน จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุจราจรในหน่วยงานที่ผ่านการประเมิน จำนวน 15 แห่ง ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 ท่าน และ ระยะที่ 3 เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงาน และบุคลากรในหน่วยงานที่ไม่เคยผ่านการประเมิน จำนวน 5 หน่วยงาน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2562-2563 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติ Paired Sample t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 องคป์ ระกอบ คือ 1) การสำรวจข้อมูล 2) การประเมินบริบทองค์กร 3) การประกาศนโยบายขององค์กร 4) การให้ความรู้ 5) การจัดกิจกรรมรณรงค์ภายในองค์กร 6) การเสริมสร้างแรงจูงใจ และ 7) การติดตามประเมินผล ผลการประเมินรูปแบบการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัย ทางถนน พบว่า โครงสร้างขององค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความชัดเจน ความง่ายต่อการนำไปใช้อยู่ในระดับ มากถึงมากที่สุด และหลังจากนำรูปแบบไปทดลองใช้ พบว่า องค์กรมีคุณภาพในการดำเนินงานตามรูปแบบการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามผลสะท้อนด้านพฤติกรรมการขับขี่ของบุคลากรในองค์กร พบว่า มีคะแนนพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ดังนั้นหากมีการนำรูปแบบนี้ไปปฏิบัติในพื้นที่จริง จะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายเพื่อความปลอดภัยทางถนนในระดับจังหวัดและการสนับสนุนจากผู้บริหารของหน่วยงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรการเพื่อความปลอดภัยทางถนนของบุคลากรในองค์กร ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This research and development design uses a mixed method methodology that comprised of qualitative research and quantitative research. This research study was set up into three stage. Stage 1 aimed to studied states and problems of driving organization measures on road safety. The samples were 15 organization administrators and responsible person for through the road safety organization assessment. Stage 2 developed a model of driving organization measures on road safety,including 21 experts. Stage 3 evaluated organizations according to the model of driving organization measures on road safety, with five of failed assessment organizations. This research was introduced during 2019-2020. The data was collected by an analysis of the query documents focus group and questionnaires. The quantitative data was analyzed by using descriptive statistics, Paired Sample t-test and qualitative data were analyzed using content analysis. The results showed that a model of driving organization measures on road safety were 7 components included 1) Survey 2) Context assessment 3) Corporate policy announcement. 4) education 5) Campaign 6) Strengthening motivation and 7) Evaluation and follow up. An assessment the model of driving organization measures on road safety show that, the structure of components was the most appropriate. When considering sub-components as suitability , possibility , clarity , ease of use, they were High to very High levels. After actions model found that, the organizations had high quality in implementation of the model. The result of the evaluation on driving behaviors for road safety among personnel in the organization had significantly increased scores (P < 0.01). To effective and sustainability of the Uthai Thani model, it must be integrated to the collaborators of road safety networks at the provincial level and supported from organization Leader should be continuously offered, could lead personnel in the organization to compliance with road safety measures. The accident rate, Injury and death rate from road accidents would be decreased.
ผู้แต่ง ฐวิช แสงแก้ว
ศรินทรา
แสงแก้ว
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
ปีที่ : 15
ฉบับที่ : 1
หน้า 41-55
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ รูปแบบการขับเคลื่อน; มาตรการองค์กร; ความปลอดภัยทางถนน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/242502
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Monday, February 7, 2022