TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ประสบการณ์อุบัติเหตุ และพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน กับรถพยาบาล : การวิจัยเชิงคุณภาพ
Accidents Experiences and Safety Behavior among Emergency Medical Personnel with Ambulance: Qualitative Research
บทคัดย่อ (ไทย) บทนํา : อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ ทุพพลภาพและเสียชีวิต ส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตอย่างมหาศาล นําไปสู่ปัญหาสําคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก วัตถุประสงค์การวิจัย : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์อุบัติเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบจากอุบัติเหตุ และพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถพยาบาล ระเบียบวิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ใช้ระเบียบการวิจัยปรากฏการณ์ วิทยา (Phenomenological method) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จํานวน 40 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถพยาบาลเคยประสบอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานทั้งจากอุบัติเหตุจากรถพยาบาลถูกชนและชนคันอื่น ชนฟุตบาท เสียหลักลงข้างทาง ตกสะพาน และอุบัติเหตุจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มทิ่มตํา ผลกระทบจากอุบัติเหตุส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ (เช่น แขนขาฟกช้ำ ฟันแตก เจ็บหน้าอก อวัยวะบางส่วนถูกตัดจนพิการ และบางรายเสียชีวิต) ปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเกิดจากการขาดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นสําาคัญ โดยพนักงานขับรถพยาบาลมีสภาพร่างกายอ่อนเพลีย ขับรถด้วยความเร็วมาก กว่า 80 กม./ชม. และฝ่าสัญญาณจราจร ส่วนบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่นั่งในที่เหมาะสม มีการทําหัตถการขณะรถพยาบาลเคลื่อนที่ และไม่เก็บอุปกรณ์ด้านการแพทย์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนปัจจัยด้านพาหนะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น ภายในห้องพยาบาลมีเข็มขัดนิรภัยไม่ครบทุกที่นั่ง นอกจากนี้ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บริเวณทางแยก ทางหลวงชนบท ถนน 2 เลนสวนทางกันและไม่มีไฟส่องสว่างข้างทาง ถนนเขตชุมชนเมืองที่สภาพการจราจรติดขัด เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจําเป็นต้องเพิ่มพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มากขึ้น สรุปผล : จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติการฉุกเฉินในรถพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านพาหนะและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยด้านบุคคล เช่น การขาดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาล ข้อเสนอแนะ : การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุรถพยาบาล ควรมุ่งเน้นข้อเสนอแนะเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถพยาบาลควรปฏิบัติตามกฎหมาย/มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอย่างเคร่งครัด อบรมหลักสูตรการขับรถพยาบาลและหลักสูตรอื่น ๆ ที่จําเป็น ศึกษา ติดตาม ประเมินผลและถอดบทเรียนกรณีอุบัติเหตุที่เกิดและฝึกซ้อมแผนรองรับการเกิดอุบัติเหตุเป็นระยะ
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Introduction : Road traffic accidents are the primary cause of injury, disability, and death. It had a tremendous impact to the economy, society, and the quality of life leading to a major global problem in many countries. Research objectives : This study aimed to investigate the accident experiences, relevant factors, effects from accident and safety behaviors of emergency medical services workers who work with ambulances. Research methodology : This qualitative research using the phenomenological method and purposive sampling. The data were collected from 40 samples using semi-structured in-depth interview and analyzing data using descriptive statistics included frequency and percentage, and content analysis. Results : The results found that emergency medical services workers who work with ambulances ever experienced an accident while working, due to an accident from an ambulance was bumped by another vehicle and collided with another vehicle or sidewalk, swerved off the road, off a bridge, and accidents from medical devices, such as needle prick injury. Effects from accident caused an injury of workers (such as bruised arms and legs, broken tooth, chest pain, some organs were cut until deformed, and some workers died). Risk factors of accidents were caused by lack of safety behaviors of emergency medical personnel such as some drivers were in a weak physically condition, drove at speeds of over 80 km/h, and ran a red light, nursing personnel did not wear a seat belt, not sit in the right place, performed medical procedures while the ambulance was running, and not keep medical devices tidy. The vehicle factor related to unsafe behaviors of emergency medical services workers was no having seat belts enough for all seats inside ambulance. The environmental factors were 2 narrow lanes of rural roads at the crossroads without street light, urban roads with traffic jam were the risk factors causing accidents which emergency medical services workers had to increase their safety behaviors in emergency medical services operations. Conclusions : From the present study, risk factors affecting accidents from emergency operation in an ambulance included personal factors, vehicle factors and environmental factors such as lack of safe behavior of emergency medical personnel which was an essential risk factor on accidents of the ambulances. Implications: To solve problems of the ambulance’s accidents should be focused on suggestions for behavioral adjustment of the emergency medical personnel. For example, the emergency operators accompanying with the ambulances should strictly comply with laws/ measures specified by the Ministry of Public Health, and a training related to how to drive an ambulance safely and other necessary trainings should be provided which include studying, monitoring, evaluating and extracting lessons in case of an accident, as well as a drill that should be organized occasionally in support of accidental events.
ผู้แต่ง รัตติยากร ถือวัน
สมคิด
ปราบภัย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล
ปีที่ : 37
ฉบับที่ : 1
หน้า 142-155
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ประสบการณ์อุบัติเหตุ; พฤติกรรมความปลอดภัย; ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การใช้ความเร็ว; เข็มขัดนิรภัย; การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร; ความอ่อนล้าหรือง่วงนอน; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; ความปลอดภัยบริเวณข้างทาง (Roadside safety); กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของอุบัติเหตุทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/248863
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Monday, February 7, 2022