TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาการแก้ปัญหาจุดเสี่ยงบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตอนขอนแก่น – หินลาด ช่วงกม. 342+518 - 344+500 ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
THE STUDY OF BLACK SPOT SOLUTION ON HIGHWAY NUMBER 2 (MITRAPHARB ROAD) KHON KAEN- HINLAD BETWEEN 342+518 AND 344+500 KILOMETER SECTION IN SILA SUBDISTRICT, MUENG DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาการแก้ปัญหาจุดเสี่ยงบนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตอนขอนแก่น – หินลาด ที่พาดผ่านตั้งแต่ช่วงกม. 342+518 - 344+500 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงจากผลกระทบอุบัติเหตุก่อนและหลังดำเนิน โครงการแก้ปัญหาจุดเสี่ยง และ 2) เพื่อประเมินระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการ แก้ปัญหาจุดเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณ 2 ฝั่งทางหลวงหมายเลข 2 (ถนน มิตรภาพ) ตอนขอนแก่น – หินลาด ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 14 หมู่ที่ 17 และหมู่ที่ 24 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 150 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาจุดเสี่ยงเกี่ยวกับระดับ ความเสี่ยงจากผลกระทบอุบัติเหตุและระดับความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาจุดเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ สถิติ Paired Sample t-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ระดับความเสี่ยงโดยภาพรวมหลังการดำเนินโครงการแก้ปัญหาจุดเสี่ยง มีระดับความเสี่ยงลดลงจากระดับเสี่ยงมาก (x=3.77, S.D.=0.77) เป็นระดับเสี่ยงปานกลาง (x=2.70, S.D.=0.97) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ระดับความเสี่ยงรายข้อหลังการแก้ปัญหา จุดเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยลดลงทุกข้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ระดับความคิดเห็นต่อการ แก้ปัญหาจุดเสี่ยงภาพรวมก่อนและหลังดำเนินโครงการในด้านกายภาพของถนนและด้านความ สะดวกของผู้ใช้ทางสัญจรและความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุของผู้ใช้ทางอยู่ในระดับปานกลาง
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The objectives of the study on black spot solution on Highway number 2 (Mitraphard Road) Khon Kaen - Hin Lad, between 342 + 518 and 344 + 500 Kilometer Section, Sila, Muang District, Khon Kaen Province were: 1 ) to compare the level of risk from the accident before and after the black spot solution, and 2) to assess the level of public opinion on the project of black spot solution. The samples were 150 people living on roadside of Highway number 2 ( Mittraphap Road) at Khon Kaen - Hin Lat Section, Sila Subdistrict, Muang District, Khon Kaen Province, Moo 2 Moo 3, Moo 14, Moo 17 and Moo 24. Stratified random sampling was used to collect sample. A questionnaire of opinions on black spot solution related to the risk level of accident impacts and the level of opinions on risk solution was a tool used to collect data. Mean and Standard Deviation were used to analyze the data and Paired Sample t-test was used to compare mean score. The research concluded that overall risk level after project implementation was lower than the high risk level (x = 3.77, S.D. = 0.77). The risk was at moderate level (x = 2.70, S.D. = 0.97). There was a statistically significant decrease at 0.05 level in each aspect after solving black spots. The opinions on black spot solution before and after the project on the physical aspect of the road and the convenience aspect of the road users, accidental safety aspect of road users were at moderate level.
ผู้แต่ง อธิปรัชญ์ พันธ์แก้ว
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ภาควิชา และคณะ สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค คณะวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
รูปแบบผลงาน วิทยานิพนธ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2018
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2561
จำนวนหน้า 85 หน้า
ประเภทเอกสาร สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
คำสำคัญ การแก้ปัญหาจุดเสี่ยง; ทางหลวงหมายเลข 2; อ.เมือง จ.ขอนแก่น
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Friday, May 20, 2022