TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ผลการลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดเสี่ยงอันตรายทางท้องถนน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
Reduce of Road Accidents at Traffic Risk Points Nongjik District, Pattani Province
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการลดจำนวนอุบัติเหตุ ณ จุดเสี่ยงอันตรายทางท้องถนน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจราจรทางถนน ณ พื้นที่ 9 จุดเสี่ยงอันตรายทางถนน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และมารับการรักษาแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองจิก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ปีงบประมาณ 2558-2560 ตามลำดับดังนี้ 716, 688 และ 422 ราย เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลตามแบบรายงานข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ของกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ จำนวน และร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 63.4, 63.5 และ 60.7 ตามลำดับ อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15-29 ปี ร้อยละ 42.5, 45.8, 55.0 ตามลำดับยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 87.6, 87.6, 84.9 ตามลำดับ ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ ร้อยละ 47.2, 34.4 และ 48.6 ตามลำดับ และไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับ ร้อยละ 6.8, 18.3 และ 5.7 ตามลำดับ ผลจำนวนอุบัติเหตุทางถนนพบว่า จำนวนอุบัติเหตุทางถนนลดลงทุกปี ซึ่งจุดเสี่ยงอันตรายทางถนน ปีงบประมาณ 2558, 2559 ที่พบอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ จุดเสี่ยงโรงเรียนศาสน์สามัคคี–แยกดอนรัก จำนวน 108 ราย (ร้อยละ 15.1) และจำนวน 100 ราย (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ แต่ปีงบประมาณ 2560 พบว่า จุดเสี่ยงอันตรายทางถนนที่พบอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ สี่แยกดอนยาง –บริษัทปาล์มไทยพัฒนา จำนวน 77 ราย (ร้อยละ 18.2) และเดือนที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด พบว่า ปีงบประมาณ 2558 และปีงบประมาณ 2560 เดือนตุลาคม จำนวน 72 ราย (ร้อยละ 10.1), จำนวน 44 ราย (ร้อยละ 10.4) ปีงบประมาณ 2559 เดือนกันยายน จำนวน 65 ราย (ร้อยละ 9.5) ตามลำดับ สรุป ผลการศึกษาสามารถมากำหนดแนวทางป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This study is a participatory action research. The objective is to study the result of reducing the number of accidents at the risk road in Nong Chik District, Pattani Province. The samples were road traffic accident sufferers at area of 9 points risk of road hazard in Nong Chik District, Pattani Province. And come to receive the Accident-Emergency Department Nong Chik Hospital. Selected specific samples, number of samples in the fiscal year 2015-2017, respectively, as follows: 716, 688 and 422 persons. Data were collected according to the road accident data surveillance report form of the non-communicable disease control group Pattani Provincial Health Office Data were analyzed using descriptive statistics, namely numbers and percentages. The results showed that most of the samples were male, 63.4%, 63.5 and 60.7% respectively. Most of the age, 42.5%, 45.8, 55.0% respectively are in the age range 15-29 years. The vehicles with the most accidents are motorcycles, 87.6%, 87.6%, 84.9% respectively. Not wearing a helmet while driving 47.2%, 34.4% and 48.6% respectively. The number of road accident among the sample at traffic risk points found that the number of road accidents decreases every year The most dangerous road risk points in the fiscal year 2015 and 2016, which were found at Sciences-Don School intersection, 108 (15.1%) and 100 (14.5%) respectively. But in the fiscal year 2017, the most dangerous road accidents were found at Don Yang-Palm Thai Pattana intersection, with 77 cases (18.2%) and the month of the most road accidents that found in the fiscal year 2015 and the fiscal year 2017 was October; 72 cases (10.1 percent), 44 cases (10.4 percent) in the fiscal year 2016 was September; 65 cases (9.5 percent), respectively. The conclusion of the study can come to define ways to prevent and reduce road accidents. In order to create effective road safety.
ผู้แต่ง อนุชิต วังทอง
อังคณา
วังทอง
ดารารัตน์
บุญไชยสุริยา
นุรไอนี
ลาเตะ
นิมารีนี
ดอเลาะ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2019
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2562
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่ : 1
ฉบับที่ : 1
หน้า 33-41
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ลดอุบัติเหตุทางถนน; จุดเสี่ยงอันตรายทางถนน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; เข็มขัดนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/view/196473
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Thursday, June 2, 2022