ชื่อเรื่อง |
การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์การรับรู้ในการทดลองใช้เครื่องหมายป้ายไฟ “ว่าง”ติดไว้ที่กระจกด้านหลังของรถยนต์รับจ้างสาธารณะเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการจราจรทางถนน Perception of “Vacant” LED sign at rear glass windshield glass of public car (taxi) to enhance road traffic safety |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลจากการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์การรับรู้ในการทดลองใช้เครื่องหมายป้ายไฟคําว่า “ว่าง” ติดไว้ที่กระจกด้านหลังของรถยนต์รับจ้างสาธารณะเพื่อเสริมความปลอดภัยในการจราจรทางถนนต่อความพึงพอใจของผู้ขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะรวมถึงประชาชนที่ใช้ยานพาหนะสัญจรบนท้องถนนและช่วยเพิ่มความปลอดภัยของการจราจรทางบกในส่วนที่เกิดขึ้นกับรถยนต์รับจ้างสาธารณะ โดยใช้หลักการยศาสตร์การรับรู้ใช้ทําการศึกษาในขอบเขตของกลุ่มรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่ให้บริการบริเวณย่านสายไหม กรุงเทพมหานครและย่านรังสิต ปทุมธานี ได้ใช้รถแท็กซี่เพื่อการทดลองครั้งนี้รวมจํานวนแล้ว 10 คันโดยการระบุรูปแบบลักษณะต่างๆ ของเครื่องหมายแจ้งเตือนนี้จํานวนอย่างน้อย ๒ แบบ ตําแหน่งบริเวณที่ติดตั้งเพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะอื่นที่ขับตามมานั้นสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงสีของเครื่องหมายป้ายไฟสัญลักษณ์นี้ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งในเวลากลางวันและในเวลากลางคืน โดยจากการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุการจราจรพบว่าในส่วนของผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะมักมีพฤติกรรมทีเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุการจราจร สาเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความประมาทและการขาดความระมัดระวังทั้งของผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะและผู้เรียกใช้บริการรถแท็กซี่ตามท้องถนนผลสรุปจากแบบสอบถามหลังการวิจัย ผุ้ที่ได้พบเห็นการติดตั้งชุดสัญญาณป้ายไฟนี้แล้วนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามจํานวนส่วนใหญ่จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดต่างก็เห็นด้วยในการติดตั้งชุดสัญญาณไฟ “ว่าง” ลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่มีการติดตั้งป้ายไฟแบบนี้ที่ทางด้านหน้าของรถแท็กซี่ที่มีการติดตั้งไว้อยู่แต่เดิมแล้ว
[-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
The objective of research is to design with the light signal on the Taxi according to Cognitive Ergonomics. This study and experiment sign design and analyze on the LED light signal set up behind the cabs. Which aimed to suit the safety and increased visibility of other follow drivers with current traffic on the road. The researcher set up Vacant light signal on 10 cabs to apply in this experiment with general traffic. The experimental result and analysis from survey by questionaire, the questionaire result show that light “Vacant“ signal can improve the perception of other follow car drivers and help to reduce accidents. This experiment aimed to benefit as information to Department of Land Transport of Thailand and others which is related authorities to improve the road traffic safety.
[-] |
ผู้แต่ง |
สุทธิ์ ศรีบูรพา
|
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) |
2019 |
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) |
2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร : วารสารการยศาสตร์ไทย
ปีที่ : 2
ฉบับที่ : 2
|
หน้า |
56-61 |
ประเภทเอกสาร |
บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ |
ประเภทของวารสาร |
ภายในประเทศ |
คำสำคัญ |
หลักการยศาสตร์การรับรู้; ความปลอดภัยในการจราจร; การรับรู้ |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถโดยสาร |
ภาษา |
ภาษาไทย |
ลิงค์แหล่งที่มา |
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJE/article/view/254476 |
ไฟล์ดาวน์โหลด |
|
อัพเดทล่าสุด |
Wednesday, August 3, 2022 |