TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การประเมินมาตรการ 7 วันอันตรายและข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อการขับขี่บนถนนที่ปลอดภัยในพื้นที่ภาคกลาง
Assessment of the Seven Dangerous Days Strategy and Suggestions for Road Safe Driving in the Central Region of Thailand
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่ภาคกลางในช่วง 7 วันอันตราย (28 ธันวาคม 2562 – 3 มกราคม 2563) ในพื้นที่ภาคกลาง โดยใช้กระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นรูปแบบการนำมาตรการ 7 วันอันตรายไปปฏิบัติ โดยพิจารณากิจกรรมตามเครื่องมือนโยบาย ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย และการรณรงค์ และหาความสัมพันธ์กับผลผลิตและผลลัพธ์ระยะสั้นและระยะกลาง ในพฤติกรรมเสี่ยง 3 ประเภท ผลการศึกษาพบว่า 1) การดื่มแล้วขับ สามารถจำกัดผู้กระทำผิดได้ผล โดยการบังคับใช้การตั้งด่านป้องปรามมีผลต่อพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลโดยตรง สามารถลดจำนวนผู้กระทำผิดบนท้องถนนได้ และมักไม่กระทำผิดให้ถูกจับได้ซ้ำ โดยในจังหวัดชลบุรีมีการบังคับใช้กฎหมาย โดยการตั้งด่านตรวจใกล้ทางออกจากสถานบันเทิงต่าง ๆ เช่นเดียวกับจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีการตั้งด่านที่เข้มข้นและมีความถี่ที่สามารถทำให้คนรับรู้และกลัวได้ระดับหนึ่ง 2) การขับรถเร็ว เจ้าหน้าที่ตำรวจมักไม่กวดขันเรื่องความเร็วมากนักเพราะมีการเดินทางระหว่างเมือง นอกจากจะมีบางช่วงที่ใช้กล้องตรวจจับ และมีหน่วยบริการตั้งเป็นระยะ ๆ ซึ่งจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดปลายทางของการเดินทางและมีผู้เดินทางจำนวนมากทำให้ทำความเร็วไม่ได้มาก ส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี มีสภาพถนนดี คนส่วนใหญ่จะขับขี่ด้วยความเร็วและจะลดลงเมื่อพบป้ายจำกัดความเร็วหรือป้ายเตือนการเข้าเขตจำกัดการใช้ความเร็ว แต่ก็เกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เท่านั้น และ 3) การไม่สวมหมวกนิรภัย มีการรับรู้ความเข้มข้นจากการตั้งด่าน ซึ่งจังหวัดชลบุรีมักไม่พบการตรวจตราเรื่องหมวกนิรภัย อาจเพราะเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องดื่มแล้วขับมากกว่า ทำให้การรณรงค์ที่มีอยู่ไม่ได้ผลมากนักในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในพื้นที่ ในขณะที่จังหวัดสุพรรณบุรี ผลของการตั้งด่านต่าง ๆ มีผลต่อการรับรู้ความเข้มข้น ทั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ควรเน้นกลไกการดำเนินงานและนโยบายของฝ่ายปกครองในพื้นที่ โดยเฉพาะการดำเนินงานร่วมมือภายใต้คณะดำเนินงาน ศปถ. และ (2) ควรมีการเพิ่มระบบเครดิตทางสังคมหรือบทลงโทษจากสังคม เพื่อใช้ควบคู่กับค่าปรับในกรณีขับรถอันตรายหรือผิดกฎหมาย
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This study aimed to examine behaviors of road users in the central region during 7 dangerous days (28 December 2019 - 3 January 2020), using a qualitative study process emphasizing the form of implementing the measures of 7 dangerous days, considering activities based on policy tools, including law enforcement and campaigns. The study also aims at finding a relationship with productivity and short-term and medium-term outcomes in 3 risk behaviors. The results revealed as follows: 1) Drinking and driving-It could limit the number of offenders effectively by enforcing setting up of checkpoints directly and that affected the behavior of an individual. It could reduce the number of offenders on the road and caused the offenders tend not to be rearrested. In Chonburi Province, a law was enforced by setting up checkpoints near exits of various entertainment venues. The same is true for Suphan Buri Province where the checkpoints were set intensively and frequently and it could make people aware and afraid of being arrested to a certain extent; 2) Driving fast- police officers were not much strict about speed because there were a lot of travelling between cities, except for some areas, when a speed camera was installed, and there were service units set up for a certain distance. As Chonburi Province is a destination of traveling, so many travelers could not travel at high speed. As for Suphan Buri province, the road condition was good. So, many people drove at high speed and would decrease their speed when encountering speed limit signs and warning signs in speed limit areas, but this happened only for a short time, and; 3) Not wearing a helmet-There was awareness of intensity of setting up a checkpoint. In Chonburi Province, it was rare to see checking of helmets by polices. This is probably because it is a tourist province where a focus is made to drinking and driving. This makes the existing campaigns tend not to be effective in changing behavior of helmet wearing in the area. While in Suphan Buri, setting up the checkpoints affected the awareness of intensity. In this study, the recommendations are as follows: 1) the use of technology should be encouraged to fix the physical engineering that is at risk of frequent occurrences; and 2) there should be a social credit system or the social punishment added to be used in conjunction with fines in the event of dangerous or illegal driving.
ผู้แต่ง กมลพร สอนศรี
ณิชกานต์
บรรพต
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร ชื่อวารสาร : BU ACADEMIC REVIEW
ปีที่ : 20
ฉบับที่ : 1
หน้า 111-129
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ มาตรการ 7 วันอันตราย; พฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน; ความปลอดภัยทางท้องถนน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; การใช้ความเร็ว; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buacademicreview/article/view/242526
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Thursday, September 1, 2022