TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซากในกรุงเทพฯ
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษาวิจัยกรณีเกิดอุบัติเหตุซ้ำซากในกรุงเทพมหานคร เป็นผลเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอุบัติเหตุประเภทของรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ ระบาดวิทยาของอุบัติเหตุ (เวลา สถานที่ และ คน ) โดยใช้สถิติพรรณนา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บรวบรวมจากแบบบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจ 3 สถานี คือ สถานีตรวจสุทธิสาร สถานีตำรวจบางซื่อ และสถานีตำรวจพหลโยธิน กลุ่มตัวอย่างที่เก็บจะใช้คดีจราจรที่เกิดขึ้นทั้งหมดในปี 2540 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 - 31 ธันวาคม 2540 ประกอบไปด้วยผู้ขับขี่ละผู้โดยสารของรถที่เกิดเหตุและคู่กรณีจำนวนทั้งสิน 3,681 คดี ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุเกิดจากรถยนต์ชนกันมากที่สุด ร้อยละ 88.9 ประเภทของรถที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดทั้งรถที่เป็นสาเหตุและคู่กรณี คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ร้อยละ 40. และร้อยละ 41.7 รองลงมาคือจักรยานยนต์ ร้อยละ 17.3 และร้อยละ 14.3 สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุพบว่าเกิดจาการขับรถเร็ว ร้อยละ 27.2 รองลงมาคือการตามกระชั้นชิด ร้อยละ22.0ในด้านระบาดวิทยาของอุบัติเหตุพบว่าช่วงเวลา 00.01-03.00 น.เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด วันที่เกิดอุบัติเหตุมากคือวันอังคารและวันพฤหัสบดี ร้อยละ 14.6 ส่วนเดือนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือเดือนมิถุนายนลักษณะบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุมาก คือ ทางตรง ร้อยละ 43.0 รองลงมาคือบริเวณปากซอย ร้อยละ 17.9 และบริเวณทางแยก ร้อยละ 16.1 ผู้ที่ขับขี่ที่เป็นผู้ชายในรถในรถที่เป็นสาเหตุจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าผู้หญิง 1.45 เท่า ในรถคู่กรณีผู้ชายจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าผู้หญิง 4.7 เท่า พบมาก ในกลุ่มอายุ 25-29 ปี ร้อยละ 11.2 เด็กชายได้รับอุบัติเหตุมากกว่าเด็กหญิง 1.7 เท่า ส่วนคนเดินเท้าเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น 149 คน คนเดินเท้าที่เป็นผู้หญิงได้รับอุบัติเหตุมากกว่าผู้ชาย 1.05 เท่า กลุ่มอายุที่ประสบอุบัติเหตุมากที่สุดคือ 20-29 ปีร้อยละ 14.8 จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้นเห็นควรให้มีการเข้มงวดในเรื่องมาตรการทางกฎหมาย การตรวจสอบสมรรถนะของยานพาหนะ การเข้มงวดในการออกใบอนุญาตขับขี่ รวมทั้งการสนับสนุนมาตรการทางการศึกษา และกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ทั้งนี้มาตรการเหล่านี้ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
บทคัดย่อ (อังกฤษ)
ผู้แต่ง พรทิวา เฉลิมวิภาส
วรรณภา
สุมิรัตนะ
หน่วยงาน สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย(สอส.)
ผู้สนับสนุน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ผู้จัดพิมพ์ -
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 1995
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2538
จำนวนหน้า -
ประเภทเอกสาร รายงาน
คำสำคัญ อุบัติเหตุทางถนน--กรุงเทพฯ; อุบัติเหตุ--อัตรา; อุบัติเหตุจราจร--วินัย
หมวดหมู่ การใช้ความเร็ว; การทดสอบความปลอดภัยของยานพาหนะ; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Sunday, April 20, 2014