ชื่อเรื่อง |
การประเมินความปลอดภัยทางถนนในเชิงกฎหมายและเชิงสถาบันประเทศไทย |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การบาดเจ็บจากการจราจรทางบกคือภัยคุกคามสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นเหตุให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1.25 ล้านคน และผู้บาดเจ็บประมาณ 20-50 ล้านคน ดังนั้น โครงการความปลอดภัยทางถนนของโลกตามการริเริ่มของบลูมเบิร์ก (Bloomberg Initiative for Global Road Safety หรือ BIGRS)จึงมอบทุนสนับสนุนแก่ประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง 5 ประเทศที่เพื่อปรับปรุงกฎหมายต่างๆ สำหรับรับมือปัญหาดังกล่าว โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากนี้การประเมินความปลอดภัยทางถนนในเชิงกฎหมายและเชิงสถาบันซึ่งองค์การอนามัยโลกดำเนินการนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความปลอดภัยทางถนนของโลกตามการริเริ่มของบลูมเบิร์กด้วยเช่นกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรต่างๆในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนมีความเข้าใจตรงกัน และเพื่อประเมินกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ อย่างรอบด้านอันนำไปสู่ดารนำเสนอคำแนะนำต่างๆ ดังนั้น ในการดำเนินการเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวจึงมีการทบทวนเอกสารต่างๆ และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ
การประเมินเชิงสถาบันชี้ว่า ปัจจุบันมีหลายองค์กรในประเทศไทยดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน ดังนั้น จึงได้มีการสร้างระบบบริหารจัดการ (Management System) ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี (ว่าด้วย “การป้องกันและการลดอุบัติเหตุทางถนน”) พ.ศ.2554 เพื่อให้องค์กรต่างๆ ประสานงานกันโดยใกล้ชิด และบรรลุเป้าหมายของทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) ทั้งนี้ ระบบบริหารจัดการดังกล่าวประกอบไปด้วยคณะกรรมการ 3 ชุด (คือ “คณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ” “ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน” และ “ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน”) แต่ระบบบริหารจัดการมีจุดอ่อนหลายด้าน เช่น นักการเมืองระดับสูงดำรงตำแหน่งทั้งประธานคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ และประธานศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ทำให้เวลาประชุมของคณะกรรมการชุดต่างๆ มีจำกัด นอกจากนี้เลขานุการคณะกรรมการทั้ง 3 ชุดมีหน้าที่เพียงการประสานงาน แต่กลับไม่มีอำนาจหรือหน้าที่จริงใจคณะกรรมการชุดนั้น ๆ
การประเมินกฎหมายเชิงลึกชี้ว่า ประเทศไทยมีกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นในการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางถนนอยู่แล้ว แต่มีกำหมายไม่กี่ฉบับที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่ดีของสากล อีกทั้งกฎหมายมีช่องโหว่ที่ต้องแก้ไข นอกจากนี้ ประเทศไทยควรบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยเบาะนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์เพื่อป้องกันเด็กที่นั้งในรถยนต์ รวมทั้ง บังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อพัฒนามาตรบานรถยนต์ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยช่องโหว่ดังกล่าว ขอแนะนำให้รัฐบาลไทย 1) ศึกษาแนวทางสร้างความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Commitment) ด้านความปลอดภัยทางถนน 2)ศึกษาทางเลือกต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ และ 3) จัดให้มีระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานของเลขานุการคณะกรรมการชุดต่างๆ นอกจากนี้ เพื่อให้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่ดีของสากล ขอแนะนำให้ประเทศไทย (1) บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยเบาะนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ (2) ลดอัตราการความเร็วสุงสุดในเขตเมือง (3) ทำให้กฎหมายว่าด้วยอัตราความเร็ว 2 ฉบับ (พระราชบัญญัติจราจรทางบก และพระราชบัญญัติทางหลวง) สอดคล้องกัน (4) กำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ให้ต่ำกว่าเดิม (5) กำหนดให้ผู้นั่งตอนหลังคาดเข็มขัดนิรภัย (6) กำหนดมาตรฐานหมวกนิรภัยสำหรับเด็ก (7) มีข้อกำหนดยึดรถจักรยานยนต์ (Motorcycle Impoundment) และ (8) บังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบเพื่อปรับปรุงมาตรฐานรถยนต์ให้ดีขึ้นอีกทั้ง ประเทศไทยต้องเพิ่มประสิทธิผลของการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางถนน เช่น มีบทกำหนดโทษรุนแรงขึ้น เพิ่มค่าปรับ มีเครื่องไม้เครื่องมือเพียงพอ มีระบบที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดเก็บค่าปรับ ใช้ระบบระดับชาติในการตัดคะแนนเมื่อกระทำผิดกฎหมายจราจร (National Demerit Point System) และสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนต่อความปลอดภัยทางถนนและกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางถนน
เป็นที่น่ายินดีว่า ประเทสไทยได้ประกาศทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ซึ่งแสดงถึงการดำเนินการจริงจังในการลดการบาดเจ็บจากการจราจรทางบก จึงหวังว่าความกระตือรือร้นเช่นนี้ของประเทศไทยจะมีส่วนช่วยให้โครงการความปลอดภัยทางถนนของโลกตามการริเริ่มของบลูมเบิร์ก ประสบความสำเร็จ และขยายสู่การดำเนินการไปทั่วประเทศ
[+][-]
|
หน่วยงาน |
สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย |
ผู้สนับสนุน |
มูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ (Bloomberg Philanthropies) |
ผู้จัดพิมพ์ |
สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย |
คำสำคัญ |
การป้องกันและการลดอุบัติเหตุทางถนน; เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ ; กำหนดมาตรฐานหมวกนิรภัยสำหรับเด็ก; สร้างการตระหนักรู้ของประชาชนต่อความปลอดภัยทางถนน; การบาดเจ็บจากการจราจรทางบก |
หมวดหมู่ |
กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย; ปัญหาอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมาย; เทคโนโลยีของการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน |