ชื่อเรื่อง |
ผลของโปรแกรมส่งเสริมเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมด้วยการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ
ต่อความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยในผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ Effect of Enhancing Attitude, Subjective Norm, and Perceived Behavioral Control with Motivation Interviewing Program on Intention to Adopt Safety Driving Behaviors Among Motorcycle Injury Clients |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมด้วยการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยของกลุ่มผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งเข้ารักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 32 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมซึ่งใช้การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจเป็นรายบุคคลประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ในการส่งสริมเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัย 4 ด้าน ได้แก่ การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับขี่ การสวมหมวกนิรภัยและใช้สายรัดคางขณะขับขี่ด้วยความเร็วตามกฎหมายกำหนด และการไม่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัย มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .85 และทดสอบความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์โดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบสถิติคู่และสถิติที่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001 ) และคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001 )
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวสามารถทำให้ความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยสูงขึ้นได้ จึงควรนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติพยาบาลเพื่อส่งเสริมความตั้งใจของผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตามควรศึกษาติดตามการมีพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจรได้อย่างต่อเนื่อ
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
This quasi-experimental research aimed to examine the effect of enhancing attitude, subjective norm, and perceived behavioral control with motivation interviewing program on intention to adopt safety driving behaviors among motorcycle injury clients. The motorcycle injury clients, who were admitted at a regional hospital in southern were purposively selected following the inclusion criteria and assigned equally into the control and experimental group. The 32 participants in the control group received usual nursing care, whereas the 32 participants in experimental group received the program that applied 8 steps of motivational interviewing for each individual in order to enhance attitude, subjective norm, and perceived control for safe driving behaviors. The safe driving behaviors comprised no drinking before driving, wearing helmet during driving, speed limit driving, and not use cellphone during driving. The instrument was the intention to Adopt Safety Driving Behaviors Questionnaire and its content validity index was .85 . The reliability of the questionnaire yielded a Cronbach alpha coefficient of .86 . The data were analyzed by descriptive statistics, paired t-test, and independent t-test.
The results showed that after receiving the program, the mean score of the intention to adopt safety driving behaviors of the participants in experimental group was statistical significantly higher than before (p < .001). In addition, the mean score of the intention to adopt safety driving behaviors of the participants in experimental group was statistical significantly higher than that of the control group (p < .001).
This finding indicated that this program could increase the intention to adopt safety driving behaviors. Therefore, the program should be applied in nursing practice in order to promote intention of motorcycle injury clients. However, the further study should follow up the safety driving behaviors to continuously prevent traffic accident
[+][-] |
คำสำคัญ |
โปรแกรมส่งเสริมเจตคติ; ควบคุมพฤติกรรมด้วยการสัมภาษณ์; พฤติกรรมขับขี่ปลอดภัย; รถจักรยานยนต์; อุบัติเหตุทางถนน |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; การใช้ความเร็ว; หมวกนิรภัย; การใช้โทรศัพท์; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ |