TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษากระบวนการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางบก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนปี 2561
The study of road traffic injury prevention process of local administration organization at subdistrict level during Songkran festival in the upper north region, 2018
บทคัดย่อ (ไทย) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดของการดำเนินการป้องกัน การบาดเจ็บและการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ขององค์กรในระดับตำบล เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงและต่ำ เพื่อนำจุดเด่นหรือประเด็นสำคัญที่ต้องการการสนับสนุนส่งเสริมไปใช้พัฒนาปรับปรุงการดำเนินมาตรการต่อไป การศึกษาใช้วิธีการแบบศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล (อปท.) 24 แห่ง ซึ่งเจาะจงเลือก อปท ที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีอัตราการบาดเจ็บสูง 14 แห่ง และที่เหลือจากพื้นที่ที่มีอัตราการบาดเจ็บต่ำ ในแต่ละตำบลใช้เจ้าหน้าที่และแกนนำที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานฯ 10 คน และประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คนหรือจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลส่วนใหญ่ จัดตั้งจุดบริการประชาชนและสื่อสารความเสี่ยงตามมาตรการที่ได้รับการสั่งการจากส่วนกลาง ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินมาตรการส่วนใหญ่เป็นของ อปท. ที่ทำแผนรองรับไว้แล้ว แต่ยังมีบาง อปท ที่ต้องจัดหางบประมาณเอง พื้นที่ที่มีอัตราบาดเจ็บต่ำ มีการดำเนินมาตรการที่หลากหลาย สื่อสารการดำเนินมาตรการทั่วถึง ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนให้ความร่วมมือกับการดำเนินมาตรการมากกว่า ประเด็นสำคัญที่ควรนำไปพัฒนาการดำเนินมาตรการต่อไป ได้แก่ การสนับสนุนให้ อปท พัฒนามาตรการที่เหมาะสมและจำเพาะกับบริบทของพื้นที่ (เช่น กรณีของการเลือกตั้งถนนในเขตเมือง หรือเขตชนบท เป็นต้น) ประเด็นการเพิ่มความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ การตักเตือนที่ไม่ได้ผล และการที่มาตรการไม่สามารถลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามประชาชนผู้ได้รับ ผลกระทบกลั [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The purpose of this descriptive study is to describe the procedure for preventing road traffic injuries in local administrative organization at subdistrict level of the upper north region in order to contribute the findings or important perspectives for future measures. We purposively selected 24 local administrative organizations (subdistrict level): 14 organizations from the area with high road traffic injury rate, and the remaining 10 organizations from the low road traffic injury rate area. In each district, the study included 10 officers or community leaders involved in road traffic accident operations, as well as at least 5 affected people. Data were gathered through observation and in-depth interviews. Data were analyzed using descriptive statistics including percentage, rate, ratio, and proportion, and the triangulation method to assess the quality of conflicting information. The findings revealed that the majority of subdistricts set up a checkpoint and communicated the risk of road traffic injuries in accordance with the central government order. Local governments own the resources used to implement the measures, however, it is insufficient in some areas. Areas with low rate of traffic injury implemented a variety of measures, communicated the policies more extensively and has a greater ability to improve cooperation between relevant personnel and the general public than those areas with high injury rate. Important issues that should be taken for developing further [+]
ผู้แต่ง สิริหญิง ทิพศรีราช
วัลยา
โสภากุล
ธนาลักษณ์
สุขประสาน
เฉลิมพล
เจนวิทยา
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2022
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2565
วารสาร วารสารควบคุมโรค
ปีที่ : 48

ฉบับที่ : 1
หน้า 160-173
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบก; ด่านตรวจ; ด่านชุมชน; ตำบล
หมวดหมู่ การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุช่วงเทศกาล
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/247670
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 16 สิงหาคม 2565