ชื่อเรื่อง |
อุบัติเหตุจราจร อาการง่วงนอน และโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น การศึกษาภาคตัดขวางในผู้ขับขี่รถสาธารณะในจังหวัดชลบุรี Road traffic accidents, sleepiness, and Obstructive sleep apnea: A cross sectional study among public transport drivers in Chonburi province |
บทคัดย่อ (ไทย) |
อุบัติเหตุจากการจราจรทางบกเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 3 อันดับแรกของประเทศไทยมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อาการง่วงนอนขณะขับขี่เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ซึ่งโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น (OSA) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้บ่อย ผู้ขับขี่รถสาธารณะมีความเสี่ยงทั้งอาการง่วงนอนและโรค OSA สูงกว่าประชากรทั่วไป ดังนั้น การศึกษานี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุการจราจรทางบกและอาการง่วงนอน และความชุกของโรค OSA ในผู้ขับขี่รถสาธารณะในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามแบบเผชิญหน้าร่วมกับการตรวจร่างกายในกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ จำนวน 218 คน พบประวัติการเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 43.1 โดยมีสาเหตุจากอาการง่วงนอน/หลับในมากที่สุดคือ ร้อยละ 20.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุคือ การดื่มคาเฟอีน (adjusted OR=2.7, 95% CI=1.3-5.8) ค่า Epworth Sleepiness Score >10 (adjusted OR=2.0, 95% CI=1.1-3.8) ค่า Pittsburgh Sleep Quality Index >5 (adjusted OR=3.2, 95% CI=1.7-5.9) พบผู้ที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากกว่าปกติจำนวน ร้อยละ 33 คุณภาพการนอนโดยรวมที่ไม่ดีจำนวน ร้อยละ 43.1 โดยปัจจัยที่มีผลต่ออาการง่วงนอนกลางวันมากกว่าปกติคือ ดัชนีมวลกาย >25 กก./ม.2 (adjusted OR=1.7, 95% CI=2.2-11.8) ค่า Pittsburgh Sleep Quality Index >5 (adjusted OR=3.6, 95% CI=1.18-4.75) และคะแนน STOP BANG >3 (adjusted OR=2.3, 95% CI=1.30-4.12) และพบความชุกของความเสี่ยงการเกิดโรค OSA ร้อยละ 41.7 อาการง่วงนอนตอนกลางวันและคุณภาพการนอนที่ไม่ดี เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางจราจรในผู้ขับขี่รถสาธารณะ การทำใบขับขี่รถสาธารณะในอนาคตจึงควรมีการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดอาการง่วงนอน และรณรงค์เพิ่มคุณภาพการนอนในผู้ขับขี่รถสาธารณ
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
For a decade, road accidents have been one of the top three causes of death in Thailand. Driving while drowsy is a factor that increases accident risks and Obstructive sleep apnea (OSA), which is often a cause of drowsiness. Public transport drivers have a higher risk of driving when drowsy and are at a higher risk of OSA than other members of the population. The aim of this study was to explore the causes of road accidents, the factors associated with road accidents and sleepiness, and to examine the prevalence of OSA among public transport drivers in the Chonburi province of Thailand. A cross-sectional analytical study was employed in this study, employing a face-to-face questionnaire, together with a physical examination, was used to collect data from 218 public transport drivers. It was found that 43.1% of the samples had been involved in road accidents. The highest percentage of accidents were caused by sleepiness or micro-sleep (20.3%). The factors associated with road accidents included caffeinated drink consumption (adjusted OR=2.7, 95%CI=1.3-5.8), the Epworth sleepiness score >10 (adjusted OR=2.0, 95% CI=1.1-3.8), and the Pittsburgh Sleep Quality Index >5 (adjusted OR=3.2, 95% CI=1.7-5.9). Furthermore, excessive daytime sleepiness was indicated by 33% of the samples. Poor sleep quality was revealed in 43.1% of the samples. The factors associated with excessive daytime sleepiness was body mass index >25 kg/m2 (adjusted OR=1.7, 95% CI=2.2-11.8), Pittsburgh Sleep Quality Index >5 (adjusted OR=3.6, 95%CI=1.18-4.75), and STOP BANG >3 (adjusted OR=2.3, 95%CI=1.30-4.12). The prevalence of OSA risk was 41.7%. Excessive daytime sleepiness and poor sleep quality were the leading factors for road accident risks among public transport drivers. Drowsiness or micro-sleep driving screening among people applying for commercial driver’s licenses is essential. Furthermore, campaigns promoting good sleep quality for public transport drivers should be regularly held
[+][-] |
ผู้แต่ง |
นริศ เจียรบรรจงกิจ
วิพรร ณัฐรังสี
เพ็ญมาศ ธีระวณิชตระกูล
สิรินทร์กาญจน์ สุขดี
|
วารสาร |
วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ปีที่ : 28
ฉบับที่ : 2 |
คำสำคัญ |
ผู้ขับขี่รถสาธารณะ; อุบัติเหตุจราจรทางบก; อาการง่วงนอน; โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถโดยสาร |