TRSL thairoads thaihealth
ชื่อเรื่อง ลักษณะของภัยเหล้ามือสองที่เกิดจากการดื่มของเยาวชน ในสถานศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย
A school-based study on harm to others due to alcohol consumption among youth in Nong Khai Province.
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของภัยเหล้ามือสอง ที่เกิดจากการดื่มของเยาวชนในสถานศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณและนอกบริเวณของสถานศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล้ามือสองที่เกิดจากการดื่มของเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย นักเรียนในสถานศึกษาแห่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 14-18 ปี ครูประจำชั้น ครูฝ่ายปกครอง ผู้กำกับการ(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน หรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองกำลังรักษาความสงบหรือผู้แทน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทน พ่อค้าแม่ค้า บุคคลในครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบ วัยรุ่นนอกระบบการศึกษา สามล้อเครื่องรับจ้าง และชาวบ้านที่อยู่บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่น จำนวน 60 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การจดบันทึก และมีการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ตีความข้อมูลตามคำถามที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิคสามเส้าในการตรวจสอบความเที่ยง และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่ศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะของภัยเหล้ามือสอง ที่เกิดจากการดื่มของเยาวชนในสถานศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆในทางลบ มีลักษณะดังนี้ การทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุจราจร เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเยาวชนที่ดื่มตามถนน/ในสถานที่สาธารณะต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกหวาดกลัว และกลัวถูกทำร้ายร่างกาย 2) ชุมชนที่อยู่ในบริเวณและหรือนอกบริเวณสถานศึกษา ผลกระทบที่ได้รับคือ การก่อให้เกิดความรำคาญใจ เปิดเพลงเสียงดังมาก คุยกันเสียงดัง และมีการรวมกลุ่มกันขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งระดับความรุนแรงของผลกระทบ เป็นความรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง มูลค่าความสูญเสียจากการได้รับผลกระทบจากการดื่มของเยาวชนมีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก เนื่องจากเป็นผลกระทบที่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบุคคลในครอบครัวที่ดื่มสุรา ดื่มทุกวันและตามเทศกาลต่างๆ ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดเป็นนโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการป้องกันและมาตรการ การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน รวมทั้งกำหนดแนวทางดำเนินงานให้ชัดเจนเพื่อเยาวชนจะได้มีที่ปรึกษาและสามารถขอคำแนะนำได้ถูกต้อง 2) จัดกิจกรรมป้องกันเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ เช่น ออกกฎระเบียบในโรงเรียน มีการเฝ้าระวังและออกตรวจเพื่อป้องปราม มีมาตรการป้องกันไม่ให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงเรียน
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This research aims to (1) study the characteristics of alcohol harm to others caused by youth drinking in a specific school in Nong Khai and (2) examine the impact of youth drinking on communities living in and around the school area. The study utilized qualitative data collected through in-depth interviews with 60 informants. This included some 14-year-old to 18-year-old non-drinking students that were selected by teachers. Other informants were their families, teachers, teens outside the educational system, police officers (the chief investigator and his team), the deputy director of the peacekeeping force, representatives from the Nong Khai Provincial Social Development and Human Security Office, retailers, tricycle drivers, and locals in the area who were affected by youth alcohol consumption. The study results showed the following: (1) A school-based study on harm to others due to alcohol consumption among youth in Nong Khai Province. Alcohol abuse by teens resulted in negative acts such as brawling, bystanders being unintentionally hit during a brawl, drunk driving accidents, vulgarity, verbal/physical harassment, violating traffic rules, and fear of assaults in public by youth binge drinkers. (2) Communities located in and around the school were disturbed by unbearable and dangerous behaviours of teenage binge drinking such as loud music, rowdy talking, and unlawful motorcycle gangs. The degree of violence could range from not severe to moderate, such as nuisances, quarrels, mild injuries, and alcohol-related crashes. Evidently, daily and occasional drinking at festivities of the youth causes damage to their families. Financially, even though these families have insufficient income for regular household expenditure. The research recommend the following: (1) Any relevant agencies should define specific prevention strategies on alcohol control and accessibility by youth. The guidelines must be clear-cut for who and where they were able to inquire when advice was needed. (2) Arrange Youth prevention activities are related to alcohol., such as school rules, Watch out and check to deter, There are measures to prevent alcohol in schools.
ผู้แต่ง สิริกร นามลาบุตร
วรานิษฐ์
ลำใย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2018
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2561
วารสาร ชื่อวารสาร : วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย
ปีที่ : 14
ฉบับที่ : 2
หน้า 94-108
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ภัยเหล้ามือสอง; เยาวชน; สถานศึกษา; เครื่องดื่มแอลกอฮอล์; อุบัติเหตุจราจร
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ปัญหาวัยรุ่น; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/QLLJ/article/view/175630
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด Wednesday, August 17, 2022