ชื่อเรื่อง |
แนวทางการประเมิน การดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน DHS-RTI |
บทคัดย่อ (ไทย) |
อุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และเป็นปัญหาอันดับหนึ่งในสามอันดับแรกเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาโดยตลอด การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกระดับเพื่อให้เกิดการบูรณาการจากทีมสหสาขาและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ร่วมกันคิดมามาตรการแก้ไขร่วมกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การสอบสวนการบาดเจ็บเพื่อชี้เป้า และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กรมควบคุมโรคได้พัฒนาการดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นหน่วยจัดการที่มีประสิทธิภาพและประเมินผลได้ดีที่สุด โดยประยุกต์ใช้ระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System : DHS) หรืออำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน (DC) มุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินงานผ่านกลไกการควบคุมป้องกันโรคในระดับอำเภอ เชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนในระดับอำเภอ (ศปถ.อำเภอ) และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในอำเภอและท้องถิ่น โดยประยุกต์แนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) หรือกลยุทธ์ 5 ส. เป็นกรอบการดำเนินงาน 10 กิจกรรม ดังนี้
1. การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวัง และจัดทำสถานการณ์ปัญหา
2. การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
3. การขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทีมสหสาขา (RTI team อำเภอ)
4. มีแผนงาน/โครงการ
5. การชี้เป้าและจัดการจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
6. การดำเนินงานมาตรการชุมชน/ด่านชุมชน
7. การดำเนินงานมาตรการองค์กรความปลอดภัยทางถนน
8. การรณรงค์ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์
9. การขับเคลื่อนทีมระดับตำบล/ท้องถิ่น/หน่วยงาน (RTI Team ตำบล)
10. การสรุปผลการดำเนินงาน
ทั้งนี้ คณะผู้จัดทำ จึงได้จัดแนวทาง "การประเมินการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน (DHS-RTI)" เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติและการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนของหน่วยงานระดับจังหวัดและอำเภอ ตามกรอบการดำเนินงาน 10 กิจกรรม แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดี (Good) ระดับดีมาก (Excellent) และระดับดีเยี่ยม (Advanced) โดยตั้งเป้าหมายในการดำเนินงาน DHS-RTI ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของอำเภอในจังหวัด และผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี (Good) ร้อยละ 50 ของอำเภอที่ดำเนินการ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางเล่มนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการประเมินการดำเนินงาน DHS-RTI เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมที่นำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
[+][-]
|
ผู้แต่ง |
ดร.ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์
ศาสตรา รีพรม
สุธาทิพย์ ภัทรกุลวณิชย์
ชลธิชา คำสอ
พานนท์ ศรีสุวรรณ
พรรษา สวนพุฒ
กฤศ เรียงไธสง
บารเมษฐ์ ผมคำ
วรัญชภรณ์ พลเขตร์
|
หน่วยงาน |
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
คำสำคัญ |
การป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน; อุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน; สาเหตุหลักจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด; พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้อุบัติเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้น; กลยุทธ์ 5 ส. |
หมวดหมู่ |
การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน |