ชื่อเรื่อง |
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) สำหรับพัฒนาการเดินรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัย |
บทคัดย่อ (ไทย) |
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลให้การใช้รถใช้ถนนในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีระเบียบเรีบยร้อย และเกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนกับประชาชนและบุคคลทั่วไป ซึ่งจนถึงปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก นับได้ว่าดำเนินการตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้ดีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการให้บริการ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการทำใบอนุญาตต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว การจัดสรรเส้นทางการเดินรถสาธารณะให้ครอบคลุมทั่วถึง การดำเนินการตรวจสอบสภาพรถให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย รวมไปถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการใช้รถใช้ถนน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริบทของการขนส่งทางบกที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเกิดจากลักษณะการเดินทางของประชาชนที่เปลี่ยนไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจ หรือลักษณะของระบบขนส่งทางบกเองที่เปลี่ยนไปจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการขนส่ง หรือปริมาณของรถโดยสารสาธารณะและรถโดยสารส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจึงเกิดความยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้บทบาทของกรมการขนส่งทางบกจำเป็นต้องมีความโดดเด่นขึ้นในแง่ของการเป็นผู้กำกับระบบขนส่งโดยสาธารณะ (Regulator) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกรมการขนส่งทางบกดังนี้คือ การขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพ คนขับขี่อย่างปลอดภัย และรถปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กล่าวไว้ กรมการขนส่งทางบกจะดำเนินการควบคุมโดยการออกกฎหมาย ระเบียบ ประกาศและมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ตรงต่อสภาพสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความปลอดภัยที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางและมาตรการในการนำเทคโนโลยีระบบการกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) มาติดตั้งในรถสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบควบคุมการเดินรถโดยสาธารณะ (องค์ประกอบหน้าที่และความเชื่อมโยงของระบบ) ในศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกเพื่อรองรับการทำหน้าที่ตรวจตรากำกับดูแลและคงบคุมการเดิรถให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเดินรถ สร้างการตรกหนักรู้ด้านความปลอดภัยการใช้ระบบ GPS และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
จากนั้นจึงได้มีการดำเนินโครงการติดตั้งศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบการกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) เพื่อใช้กำกับดูแลความปลอดภัย ในระยะแรกได้ทดลองใช้กับรถบรรทุกวัตถุอันตรายและรถโดยสารของ บขส. ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าสมารถนำไปใช้ในการควบคุมความเร็วของผู้ขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมการขนส่งทางบกจึงมีนโยบายที่จะประกาศระเบียบข้อกหนดให้รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกติดตั้งอุปกรณ์เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง (GPS) ในรถจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการ “โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) สำหรับการพัฒนาการเดินรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัย” ในการรองรับข้อมูลที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และเสนอแนะแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้รับจาก GPS ที่ติดตั้งตามประกาศแก่หน่วยงานภายในกรมการขนส่งทางบก รวมทั้งผู้ประกอบการเดินรถให้สามารถนำข้อมูลไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นการต่อยอดการดำเนินงานด้าน GPS ของกรมการขนส่งทางบก
[+][-]
|
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ผู้สนับสนุน |
กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้ใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก |
ผู้จัดพิมพ์ |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง |
คำสำคัญ |
ระบบบริหารจัดการเดินรถ; รถโดยสารสาธารณะ; รถบรรทุก; GPS; ตำแหน่งบนโลก |
หมวดหมู่ |
เทคโนโลยีความปลอดภัยของยานพาหนะ |