บทคัดย่อ (ไทย) |
เอกสารฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการจราจรทางบกลงครึ่งหนึ่งภายใน พ.ศ. 2563 และทำให้ทุกคนเข้าถึงระบบขนส่งที่ปลอดภัย ราคาถูก เข้าถึงง่าย และยั่งยืน ภายใน พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ เป้าประสงค์ที่ 3.6 และ 11.2 ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นที่จะกระตุ้นให้รัฐบาลต่าง ๆ และประชาคมระหว่างประเทศดำเนินนโยบายความปลอดภัยทางถนน เป็นเรื่องที่ท้าทายว่าจะคว้าโอกาสนี้ไว้และนำมาตรการความปลอดภัยทางถนนไปปฏิบัติให้มากขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญได้อย่างไร ดังนั้น เอกสารทางเทคนิค “ชีวีปลอดภัย” จึงพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ตัดสินใจและผู้ปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยทางถนนให้สามารถลดจำนวนการเสียชีวิตจากการจราจรทางบกในประเทศของตนได้อย่างมีนัยสำคัญ
เอกสารทางเทคนิค “ชีวีปลอดภัย” รวบรวมมาตรการสาคัญ ๆ ที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based Inventory of Priority Intervention) สำหรับนำไปใช้เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักของเอกสารทางเทคนิค “ชีวีปลอดภัย” (Save LIVES) ได้แก่ การจัดการความเร็ว (Speed management) ผู้นำด้านความปลอดภัยทางถนน (Leadership on Road Safety) การออกแบบและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure design and improvement) มาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์ (Vehicle safety standards) การบังคับใช้กฎหมายจราจร (Enforcement of traffic laws) และการรักษาชีวิตหลังเกิดอุบัติเหตุ (Survival after a crash) องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กันและต้องนำไปปฏิบัติอย่างบูรณาการให้เป็นระบบความปลอดภัย (Safety System Approach) เพื่อให้ปัญหาการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการจราจรทางบกได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ การนำมาตรการต่าง ๆ (Interventions) ที่เอกสารทางเทคนิคฉบับนี้ระบุไปปฏิบัติจะช่วยลดการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และต้นทุนทางเศรษฐกิจสังคมจากการจราจรทางบก ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการเดินเท้าและการขี่จักรยาน สร้างกรอบทางสถาบันและทางกฎหมายที่ชัดเจนให้กับนโยบายความปลอดภัยทางถนน และแก้ไขประเด็นทางสังคมและธรรมาภิบาลในภาพกว้าง อันกระทบต่อนโยบายความปลอดภัยทางถนน
การดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในสิ่งที่เอกสารทางเทคนิค “ชีวีปลอดภัย” ให้ความสำคัญจะช่วยลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการจราจรทางบกได้ อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศการย่อมนำนโยบายความปลอดภัยทางถนนไปปฏิบัติในรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหาในเอกสารทางเทคนิคฉบับนี้จึงไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณี แต่เป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่สนับสนุนการตัดสินใจว่ามาตรการสำคัญใดบ้างจะช่วยขับเคลื่อนนโยบายความปลอดภัยทางถนนให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ 3.6 และ 11.2 ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยื
[+][-]
|
หน่วยงาน |
World Health Organization |
ผู้จัดพิมพ์ |
World Health Organization |
คำสำคัญ |
ชีวีปลอดภัย; การจัดการความเร็ว; มาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์; การบังคับใช้กฎหมายจราจร; (Save LIVES) |
หมวดหมู่ |
เมาแล้วขับ; การใช้ความเร็ว; หมวกนิรภัย; เข็มขัดนิรภัย; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การออกแบบถนนอย่างปลอดภัย; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; เครื่องหมายและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย; มาตรการลดความเร็วของยานพาหนะ (Traffic calming; การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; เทคโนโลยีความปลอดภัยของยานพาหนะ; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การให้บริการหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; บทบาทและการมีส่วนของภาคเอกชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของอุบัติเหตุทางถนน |