ชื่อเรื่อง |
ความสัมพันธ์ของการกระจุกตัวของอุบัติการณ์ อุบัติเหตุทางถนนตามสาเหตุต่างๆ กับสถานะเศรษฐกิจของจังหวัด : การประยุกต์ใช้ดัชนีการกระจุกตัว Relationship between Concentration of Traffic Accident Incidence by Various Causes and Provincial Eco-nomic Status: an Application of Concentration Index |
บทคัดย่อ (ไทย) |
ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย แม้จะมีการออกมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้อุบัติการณ์อุบัติเหตุทางถนนยังคงอยู่ในระดับสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของการกระจุกตัวของอุบัติเหตุทางถนนแยกตามสาเหตุต่างๆ กับสถานะทางเศรษฐกิจของจังหวัดโดยอาศัยดัชนีการกระจุกตัว (concentration index : CI) การศึกษานี้เป็นงานวิจัยภาคตัดขวางโดยใช้ข้อมูลฑุติยภูมิที่สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ.2557 จำนวน 76 จังหวัด ข้อมูลที่ได้ประกอบด้วย (1) จำนวนอุบัติเหตุทางถนนรายจังหวัด โดยแบ่งตามสาเหตุได้เป็น (1.1) สาเหตุจากผู้ขับขี่ (1.2) สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม และ (1.3) สาเหตุจากยานพาหนะ และ (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากร ผลการศึกษาพบว่า ค่า CI ของอุบัติการณ์อุบัติเหตุทางถนนรวมทุกสาเหตุและสาเหตุจากผู้ขับขี่มีค่า 0.033 และ 0.088 ตามลำดับ บ่งบอกว่าอุบัติเหตุทางถนนรวมทุกสาเหตุและอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากผู้ขับขี่การกระจุกตัวมากในจังหวัดที่มีเศรษฐานะดี ขณะที่ค่า CI ของอุบัติการณ์อุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมและสาเหตุจากยานพาหนะมีค่า -0.035 และ -0.040 ตามลำดับ บ่งบอกว่าการกระจุกตัวของอุบัติเหตุทางถนนอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว มีการกระจุกตัวมากในจังหวัดที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำ อย่างไรก็ตาม CI ที่ได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประโยชน์ของการศึกษานี้ในเชิงนโยบาย คือ การใช้ CI เป็นเครื่องมืในการพิจารณาให้ความสำคัญถึงความเร่งด่วนและความเข้มข้นของการดำเนินมาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่ต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่
[-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
Traffic accident problem is a critical public health concern in Thailand. Despite a number of preventive measures launched in the past, with the country’s growing economy and the expansion of population, the incidence of traffic accidents in Thailand still remains on the rise. This research therefore sought to assess the relationship between traffic accident concentration sorted by causes and provincial economic status through the concentration index (CI). This study is cross-sectional research, using secondary data surveyed by the National Statistical Office in 2014 where information from 76 provinces was obtained. The dataset is composed of (1) information about traffic accident incidence in each province by (1.1) human causes, (1.2) environmental causes, and (1.3) vehicle causes, and (2) information about gross provincial product (GPP) per capita. The findings revealed that the CIs of all-causes and human-causes are 0.033 and 0.088 respectively. This discovery alluded to the fact that traffic accident incidence was most concentrated amongst the better-off provinces. In contrast, the CIs of environmental-causes and vehicle-causes were -0.035 and -0.040 respectively, suggest that traffic accident incidence by environ-mental-causes and vehicle-causes was concentrated amongst the less better-off provinces. Note that the CIs in this study did not yield statistical significance. The contribution of this study to a wider policy implication is the use of CI as means to prioritise the urgency and intensity of traffic accident preventive measures, which might be varied in design according to the differences in the context of each province
[+][-] |
ผู้แต่ง |
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์
อดุลย์ บำรุง
ประยูร โกวิทย์
|
วารสาร |
วารสารวิชาการสาธารณสุข
ปีที่ : 26
ฉบับที่ : 5 |
คำสำคัญ |
อุบัติเหตุทางถนน; ความเท่าเทียม; ความเป็นธรรม; ดัชนีการกระจุกตัว |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของอุบัติเหตุทางถนน |