ชื่อเรื่อง |
การจัดการจุดเสี่ยงและรูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
บทคัดย่อ (ไทย) |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อจัดการจุดเสี่ยงและศึกษารูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง 1) กลุ่มขับเคลื่อนการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน จำนวน 47 คน กลุ่มประเมินผลลัพธ์ คือ ตัวแทนสมาชิก ครอบครัวจากชุมชนอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปที่มีประสบการณ์การใช้ถนนบริเวณจุดเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือจัดการเชิงผลลัพธ์ 2) เครื่องมือวิเคราะห์จุดเสี่ยง
3) แบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดย จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 1) การจัดการจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 2) การรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนักการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน 3) ด้านการสื่อสารความเสี่ยงในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน 4) การสร้างความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่าย 5) องค์กรต้นแบบด้านการสวมหมวกนิรภัย จุดเสี่ยงที่สำคัญต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต มีจำนวน 10 จุด และได้รับการแก้ไขโดยชุมชน จำนวน 4 จุด ความคิดเห็นของประชาชนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยรวม พบว่า ประชาชนเห็นว่าการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การบริหารจัดการ และการติดตามอย่างต่อเนื่อ
[+][-]
|
ผู้แต่ง |
พิทยา ทองหนูนุ้ย
สุทธิพงค์ รักษ์พันธ์
|
หน่วยงาน |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนดินแดง ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
คำสำคัญ |
การจัดการจุดเสี่ยง; งานป้องกันอุบัติเหตุ; การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย; อำเภอควนขนุน; จังหวัดพัทลุง |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน |