ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการจัดการลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน MANAGEMENT MODEL FOR REDUCING ACCIDENTS
FROM ROAD FREIGHT |
บทคัดย่อ (ไทย) |
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ของรูปแบบการจัดการลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลรูปแบบการจัดการลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานระดับหัวหน้างาน ที่รับผิดชอบด้านงานขนส่งในสถานประกอบการจังหวัดระยองจำนวน 300 คน การวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่หนึ่ง (1st order CFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง (2nd order CFA) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนนในภาพรวมมีความสำคัญระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบด้านพาหนะมีค่าเฉลี่ยสูงสุด องค์ประกอบหลักที่นำมาใช้เป็นรูปแบบการจัดการลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนน มี 3 องค์ประกอบหลัก เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อย ได้แก่ องค์ประกอบหลักด้านสภาพแวดล้อมทางการจราจร องค์ประกอบหลักด้านยานพาหนะ และองค์ประกอบหลักด้านผู้ขับขี่ ส่วนองค์ประกอบย่อยที่มีค่าน้ำหนักมากสุดได้แก่ การเลือกใช้ยานพาหนะให้ถูกต้องกับประเภทของงาน ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล พบว่า ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.188 ดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน พบว่า ค่า GFI เท่ากับ 0.988 ค่า AGFI เท่ากับ 0.971 ค่า TLI เท่ากับ 0.985 ค่า NFI เท่ากับ 0.953 ค่าความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่า ได้ค่า RMSEA เท่ากับ 0.025 ค่า RMR เท่ากับ 0.013 แสดงว่า โมเดลรูปแบบการจัดการลดอุบัติเหตุจากการขนส่งสินค้าทางถนนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ
[+][-]
|
บทคัดย่อ (อังกฤษ) |
The Objectives of this research article were to the confirmatory factor analysis (CFA) of the management model for reducing accidents from road freight, together with examining the consistency of the model. The sample comprised of 300 supervisors who responsible for transportation management. This study used quantitative method and analysis. The instrument used for data collection data was a questionnaire. The data was analyzed with both descriptive and inferential statistics. The descriptive statistics included percentage, mean, and standard deviation. On the other hand, the inferential statistics comprised of first order CFA and second order CFA for examining the consistency of the model and the empirical data The results showed that the vehicle management is the most important factor for reducing accidents from road freight, in overall. The main latent variables for management model for reducing accidents from road freight ranking from the highest factor loading score were Traffic environment, Vehicle, and Driver, respectively. The observe variable with highest factor loading score was the selection of vehicle to suit the job The validation of a goodness of fitted model yielded a Chi-square of 1.188, GFI = 0.988, AGFI = 0.971, TLI = 0.985, NFI = 0.953, RMSEA = 0.025, and RMR = 0.013. Therefore, it can be concluded that the factors of the management model for reducing accidents from road freight were consistent with the empirical data
[-] |
วารสาร |
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 6 |
คำสำคัญ |
รูปแบบการจัดการ; การขนส่งสินค้าทางถนน; การลดอุบัติเหตุ |
หมวดหมู่ |
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; การออกแบบถนนอย่างปลอดภัย; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; ความปลอดภัยบริเวณข้างทาง (Roadside safety); การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; การทดสอบความปลอดภัยของยานพาหนะ; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน |