TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
The Development of Road Safety Management Model by Systems and Mechanisms a Committee of the Road Safety Mueang Suang District, Roi-Et
บทคัดย่อ (ไทย) วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง รูปแบบการวิจัย : วิจัยและพัฒนา (Research and development design) วัสดุและวิธีการวิจัย : การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยการทบทวนแนวคิด และทฤษฎี การสำรวจสภาพปัญหา การสร้างและพัฒนารูปแบบฯ และการให้ความรู้ รูปแบบฯ มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ( = 0.63) จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (2) การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ ดำเนินการเป็นระยะเวลา 13 เดือน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ % difference ผลการวิจัย : รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา (2) การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ (3) การจัดทำโครงการ (4) การนิเทศ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ (5) สรุป ถอดบทเรียนและประชาสัมพันธ์ และหลังการพัฒนาคณะกรรมการฯ มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยรวมเพิ่มขึ้นโดยมีร้อยละความแตกต่างเพิ่มขึ้น 53.33% จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุลดลง 27.90% จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บลดลง 6.29% แต่มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 คน และไม่มีผู้เสียชีวิตในเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บลดลง และไม่มีผู้เสียชีวิตในเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Purposes : To develop and evaluate a development of road safety management model by systems and mechanisms a committee of the road safety Mueang Suang district. Study design : Research and development design Materials and methods : This research was divided into 2 phases: (1) the development of a road safety management model by reviewing concepts and theories, exploring problematic conditions, creating and developing a model and educating, the model was theoretically reasonable and the mean probability was 4.14 ( = 0.63) from a full score of 5 and (2) Trial and evaluation of road safety management models, collect data using the accident record. It was performed for 13 months and the data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and % difference. Main findings : A development of road safety management model by systems and mechanisms a committee of the road safety Mueang Suang were consisted of 5 steps: (1) problem analysis, (2) committee potential development, (3) project preparation, (4) continuous supervision, monitoring and evaluation, and (5) conclusions, lessons learned and public relations, and after improvement, A committee had the overall road safety management knowledge score increased. with the percentage difference increasing 53.33%, the number of accidents decreased by 27.90%, the number of injuries decreased by 6.29%, but there were fatalities of 2 and no deaths during the New Year and Songkran festivals. Conclusion and reco [+]
ผู้แต่ง มิตร สารัตน์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2022
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2565
วารสาร วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมิทางสุขภาพ
ปีที่ : 3

ฉบับที่ : 1
หน้า 161-174
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ การจัดการความปลอดภัยทางถนน; ระบบและกลไก; ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน
หมวดหมู่ การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การมีส่วนร่วมของชุมชน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; อุบัติเหตุช่วงเทศกาล
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/255542
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 27 มิถุนายน 2565