TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบตรวจจับอุบัติการณ์อัตโนมัติบนทางพิเศษภายใต้สภาพจราจรหนาแน่น
Development of Expressway Automatic Incident Detection System under Heavy Traffic Volume Condition
บทคัดย่อ (ไทย) การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งบนทางพิเศษ (ทางด่วน) หากไม่มีบริการแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่และเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ทราบอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบหลายประการซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียมากยิ่งขึ้น เช่นการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน การจราจรติดขัดสะสม และความล่าช้าในการเข้าช่วยผู้บาดเจ็บ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ตระหนักถึงความสำคัญในการลดความสูญเสีย จึงได้ริเริ่มทดสอบและพัฒนาระบบตรวจจับอุบัติการณ์แบบอัตโนมัติโดยนำข้อมูลที่ได้จากกล้องตรวจวัดสภาพจราจรแบบประมวลผลภาพ (Image Processing Detection System: IDS) ซึ่งประกอบด้วย ความเร็ว อัตราการไหล และการครอบครองผิวจราจร มาพัฒนาระบบตรวจจับอุบัติการณ์ฯ

บทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาระบบตรวจจับอุบัติการณ์อัตโนมัติ โดยใช้ข้อมูลจากกล้องตรวจจับสภาพจราจรซึ่งในการศึกษาในครั้งนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาอัลกอริทึมภายใต้สภาวะจราจรหนาแน่น บนทางหลวงกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และมีกล้องตรวจวัดสภาพจราจรแบบประมวลผลภาพติดตั้งไว้อยู่แล้วเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อท่น โดยการพัฒนาอัลกอริทึมในการศึกษานี้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี California Algorithm และ McMaster Algorithm ซึ่งมีตัวแปรที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพ อันได้แก่ อัตราการตรวจจับ (Detection Rate: DR) เวลาที่ใช้ในการตรวจจับ (Time to Detect: TTD) และอัตราการแจ้งเตือนผิดพลาด (False Alarm Rate: FAR)

จากการทดสอบ พบว่า อัตราการตรวจจับมีค่าระหว่าง 87.5-100 เปอร์เซ็น เวลาที่ใช้ 6.5-16 นาที (เนื่องจากกล้องตรวจวัดอยู่ห่างกันมาก) และอัตราการแจ้งเตือนผิดพลาด 0.0-1.0 เปอร์เซ็น ซึ่งผลจากการพัฒนาการแจ้งเตือนอัตโนมัติสามารถแจ้งได้เร็วกว่าการตรวจสอบของพนักงานประมาณ 1-2 นาที น [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) For each of incident on an expressway, if there is no information to other drivers and to the rescue team on a timely manner, the incident could affect many aspects of which may cause loss even more. Examples include secondary incidents, accumulated traffic congestion, and delays in the rescue of the wounded. The Expressway Authority of Thailand (EXAT) realized in the importance of reducing loss, therefore, initiated an effort to research and development of automatic incident detection (AID) algorithm using traffic sensor data, which include speed, flow, and occupancy from the Image Processing Detection System (IDS).

This paper presents the development of an AID algorithm using real traffic sensor data. The focus of this study is to develop an AID algorithm under heavy traffic volume condition on an expressway. Karnchana Pisek Expressway, one of expressways operated by EXAT, was chosen because traffic sensors were already installed for other purposes. The AID algorithm developed in this study is based on California and McMaster algorithms. The performance indicators of the AID algorithm are detection rate (DR), time to detect (TTD) and false alarm rate (FAR). The test results indicate DR within the range of 87.5-100 percent, TTD within the range of 6.5-16 minutes (given that traffic sensors are quite far apart), and FAR within the range of 0.0-1.0 percent. The proposed AID algorithm is able to detect incidents more quickly than traffic control officers, around 1 to [+]
ผู้แต่ง ชาญเวทย์ หริพ่าย
อานุพล
กฤษดานิรมิตร
สุรเชษฐ์
ประวีณวงศ์วุฒิ
ศักดิ์ดา
พรรณไวย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2013
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2556
สัมมนา การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ
ครั้งที่ : 18
จำนวนหน้า 12 หน้า
ประเภทเอกสาร บทความงานสัมมนาวิชาการ
ประเภทของงานสัมมนา ภายในประเทศ
คำสำคัญ ระบบตรวจจับอุบัติการณ์; อัตราการตรวจจับ; เวลาที่ใช้ในการตรวจจับ; อัตราการแจ้งเตือนผิดพลาด
หมวดหมู่ เทคโนโลยีของการบังคับใช้กฎหมาย
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 16 ธันวาคม 2558