TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การแยกผู้ขับขี่และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์จากลักษณะการบาดเจ็บในจังหวัดลำปางหวัดใกล้เคียง
Abstract: Differentiation between Motorcycle Riders and Passengers by Injury Characteristics in Lampang and Neighbouring Provinces
บทคัดย่อ (ไทย) การเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์มีสถิติการเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี การแยกผู้ขับขี่และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์มีความสำคัญ แม้ในบางกรณีที่ไม่สามารถจะระบุตัวผู้ขับขี่และผู้ซ้อนได้ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินคดีความ และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกัน ประกอบกับยังไม่พบรายงานการศึกษาใดที่เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบลักษณะการบาดเจ็บระหว่างผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์ที่รับนอน และเสียชีวิต วิธีการ : ศึกษาย้อนหลังแบบภาคตัดขวาง ในผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ จำนวน 908 ราย ระหว่าง เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึง ธันวาคม 2560 ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน และข้อมูลชันสูตรพลิกศพของโรงพยาบาลลำปาง นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะการบาดเจ็บระหว่างผู้ขับขี่และผู้ซ้อน ด้วยสถิติ multivariate logistic regression และการวิเคราะห์ด้วย ROC curve ผล: ผู้ประสบอุบัติเหตุ มีอายุเฉลี่ย 35±19.6 ปี โดยผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 70.6) ผู้ขับขี่มี Glasgow Coma Scale ที่ต่ำกว่าผู้ซ้อน (13.68 vs. 14.22, p = 0.023) และมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยนานกว่าผู้ซ้อน ลักษณะการบาดเจ็บที่แตกต่างระหว่างผู้ขับขี่กับผู้ซ้อนอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การบาดเจ็บที่ข้อศอกและแขนท่อนปลาย การบาดเจ็บที่ข้อมือและมือ แผลเปิดที่ศีรษะ กะโหลกศีรษะร้าว กระดูกหน้าหัก การบาดเจ็บรุนแรงในกะโหลกศีรษะ และการมีกระดูกหักอย่างน้อยหนึ่งตำแหน่งในร่างกาย เมื่อวิเคราะห์แบบ multivariate logistic regression และทำ backward elimination แล้ว พบปัจจัยทำนายความเป็นผู้ขับขี่ ได้แก่ เพศชาย (AOR = 2.3, 95% CI 1.7-3.3, P-v [+]
บทคัดย่อ (อังกฤษ) Background: Motorcycle accidents (MCA) occur very frequently and the numbers are increasing every year. Differentiation between rider and passenger of MCA victims can be important, although this is not possible in many cases which can affect the outcome of the case and the compensation by the insurance company. Knowledge about the comparison of rider and passenger injury characteristics in Thailand is limited. Objective: To compare rider and passenger MCA injury characteristics recorded at Lampang Hospital for admissions and deaths. Method: This retrospective cross-sectional analysis studied 908 MCA victims from January 2016 to December 2017. Data were collected from medical records and autopsies at Lampang Hospital and analyzed, comparing the characteristics of injuries in riders and passengers by multivariate logistic regression and ROC curve analysis. Results: The mean age was 35±19.56 years. Most of the riders were male (70.6%). The mean of The Glasgow Coma Scale in riders was lower (13.68 vs. 14.22, p = 0.023), and the mean of length of stay was longer than in passengers. Characteristics of the injuries in riders were significantly different from those in passengers, including injury to the elbow and forearm, injury to the wrist and hand, open wound of the head, fracture of the skull, facial bones, intracranial injury and any bone fracture. An analysis by multivariate logistic regression and backward elimination found four predictive factors, including male gender (AOR [+]
ผู้แต่ง กำพล เครือคำขาว
ธีรดนย์
จินต์จิระนันท์
นนทรี
คมวัชรพงศ์
วรชาติ
กันธิยะ
ขวัญชนก
แสนเตชะ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2019
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2562
วารสาร วารสารกรมการแพทย์
ปีที่ : 44

ฉบับที่ : 1
หน้า 119-126
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ ผู้ขับขี่; ผู้ซ้อน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์; ลักษณะการบาดเจ็บ; นิติเวชคลินิก
หมวดหมู่ การประกันภัยและการชดเชยเยียวยา; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ; การสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/247037
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 09 สิงหาคม 2565