TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาการปรับปรุงจุดกลับรถ บริเวณจุดอันตราย กรณีศึกษาหน้ากองบิน 2 จังหวัดลพบุรี
Improving the Black Spot U-turn: A Case Study, In Front of Wing2 Royal Thai Airforce Lopburi Province
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาจุดกลับรถ บริเวณจุดอันตราย โดยการวิเคราะห์ระยะเวลาถึงจุดชน (TTC) มุ่งเน้นศึกษาความปลอดภัยบริเวณจุดกลับรถ 2 รูปแบบ คือ มีและไม่มีช่องรอเลี้ยว บนถนนหมายเลข 1 (พหลโยธิน) พื้นที่รับผิดชอบของแขวงทางหลวงลพบุรีที่ 1 กรมทางหลวง โดยดำเนินการพิสูจน์หาจุดกลับรถอันตรายจากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุ เก็บรายละเอียดพื้นที่และข้อมูลการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนของจุดกลับรถอันตราย จำลองรูปแบบการจราจรจุดกลับรถรูปแบบเดิมและแบบปรับปรุงในระดับจุลภาค โดยใช้โปรแกรม VISSIM น าผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเวลาในการชน (TTC) เพื่อเป็นแนวทางในการเปรียบเทียบเลือกใช้รูปแบบจุดกลับรถที่เหมาะสม พร้อมทำการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนและเสนอแนวทางแก้ไข โดยรวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติเหตุในช่วงปี พ.ศ. 2557-2559 พบว่าจุดกลับรถอันตราย 3 จุด บริเวณหน้ากองบิน 2 เกิดอุบัติเหตุ 9 ครั้ง เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีจุดกลับรถ 3 จุด มีระยะใกล้กัน โดยจุดที่ 1 (ทางเข้ากองบิน 2) มีช่องรอเลี้ยว จุดที่ 2 และ 3 ไม่มีช่องรอเลี้ยว จากการจำลองรูปแบบและวิเคราะห์ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ไขคือ จุดที่ 1 มีช่องรอเลี้ยว จุดที่ 2 ปิดจุดกลับรถ และจุดที่ 3 เพิ่มช่องรอเลี้ยว ซึ่งให้ค่าเวลาในการชน (TTC) เหมาะสมที่สุด
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This research aims toimprove the Black Spot U-turn by time to collision (TTC). This study focuses on two types of U–turn that included U-turns with and without an exclusive lane. The study observed the traffic data on the route No.1 (Phahonyothin), under the supervision of the Lopburi 1 highway district, department of highways. The experiments analyzed the Black Spot of U-turns from accident statistics. Geometric data and traffic parameters at the peak hours of the black spot u-turn were collected. The traffic conditions with and without exclusive U-turn lane were simulated with the microscopic simulation, named VISSIM. The results of time to collision (TTC) by the SSAM program were analyzed and compared. In this research, accident statistics during the year 2014-2016 were collected. It was found that9 accidents occurred at three U-turn located in front of Wing 2 Royal Thai Airforce due to improper distance. The 1st U-turn has exclusive lane while 2nd and 3rd have no exclusive lanes. From simulation results, it was recommended that the first U-turn has exclusive lane, the second U-turn should be closed and adding exclusive lane to the third U-turn
ผู้แต่ง วุฒิชัย วัติสุ
กิตติชัย
ธนทรัพย์สิน
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีที่ : 12

ฉบับที่ : 1
หน้า 140-148
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ จุดกลับรถอันตราย; เวลาในการชน; ช่องรอเลี้ยว
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การออกแบบถนนอย่างปลอดภัย; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; การประเมินระดับความปลอดภัยของถนน; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; ระบบรายงานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา http://journal.fte.kmutnb.ac.th/download/v12n1/15.pdf
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2565