TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง การศึกษาปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
THE STUDY OF RISK BEHAVIOR FACTORS AFFECTING ROAD ACCIDENTS
บทคัดย่อ (ไทย) บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการศึกษา ซึ่งทําการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.862 จากกลุ่มตัวอย่างจํานวนทั้งหมด 1,000 กลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่เดินทางด้วยรูปแบบการเดินทางที่หลากหลายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นทําการวิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มรูปแบบการเดินทางภายในกรุงเทพมหานครมีรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย และผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่มีผลทางสถิติในการทํานายพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนําไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ คือ เมาแล้วขับ (Exp(B)=3.191) ขับรถเร็ว (Exp(B)=2.260) ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด (Exp(B)=2.025) และการปฏิบัติตามกฎจราจร (Exp(B)=0.334) ซึ่งจากข้อมูลพฤติกรรมดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่เคยเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหากมีพฤติกรรมเสี่ยงในการเดินทางซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่พบได้บ่อยในประเทศไทย อย่างไรก็ตามการวางแผนแก้ไขปัญหาควรจะมีการวางแผนอย่างครอบคลุมทุกประเด็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในมิติอื่นๆ ด้วย
บทคัดย่อ (อังกฤษ) This article aims to study the risk behavior factors that affect road accidents. The research methodology was designed by using a quantitative research. The data were collected by a questionnaire survey with a Cronbach’s alpha of 0.862 from1,000 samples. The sample was selected by using a purposive sampling method from a group of road users among various mode choices available in Bangkok. The analysis was performed by using a binary logistic regression analysis. The results of analysis found that the variety of travel modes within Bangkok in concurrence with risk behaviors may lead to the occurrence of road accident. The risk factors which was found in this study are drunk driving (Exp(B)=3.191), speeding (Exp(B)=2.260), and abrupt driving (Exp(B)=2.025) and obeying traffic regulations (Exp(B)=0.334). From the data of risky driving behavior, it can be explained that the sample group who had an accident from such behavior were more likely to face an accident if they drive with an unsafe behavior in traveling. Although, this unexpected traffic situations with a least aware of risk taking is widespread found among Thai drivers, the likelihood of being involved in an accident must be identified. This is to provide comprehensive understanding of risky driving behavior and be in the lead for problem-solving that covers all aspects of risk that may arise in other areas.
ผู้แต่ง ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
สรารัตน์
ฉายพงษ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ปีที่ : 15

ฉบับที่ : 3
หน้า 30-42
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ พฤติกรรมเสี่ยงในการเดินทาง; อุบัติเหตุบนท้องถนน; ความปลอดภัยทางถนน
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; เมาแล้วขับ; การใช้ความเร็ว; หมวกนิรภัย; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน; กฎหมายจราจร; แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน; แบบจำลองและการวิเคราะห์ปัจจัยของอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ; อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์; อุบัติเหตุรถโดยสาร
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/244947
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2565