TRSL
  • thairoads
  • thaihealth
ชื่อเรื่อง แนวทางการลดอุบัติเหตุทางรถยนต์จากปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ
Guidelines for reducing car accidents and the study of accident causation factors
บทคัดย่อ (ไทย) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสำหรับใช้กำหนดแนวทางในการลดการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุของรถยนต์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับตีพิมพ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 - 2560 โดยข้อมูลที่ทำการเก็บคือ จำนวนรถยนต์ ประเภทรถยนต์ และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อหาแนวทางการลดการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 - 2560 มีจำนวนรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 3,805 คัน ประเภทรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถยนต์โดยสาร 1,389 คัน รองลงมา คือ ประเภทรถยนต์นั่ง 1,277 คัน ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถยนต์ รองลงมาคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางกายภาพ สำหรับแนวทางการลดอุบัติเหตุทางรถยนต์จากปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ 1. การให้การศึกษา เป็นการแก้ปัญหาของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ด้านการไม่รู้จักป้องกันตนเอง และการขาดความรู้ความชำนาญของผู้ขับขี่รถยนต์ 2. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลความปลอดภัยทางถนน เป็นการแก้ปัญหาของปัจจัยด้านสภาพถนนและแสงสว่าง รวมถึงสภาพดิน ฟ้า อากาศ 3. การสร้างความตระหนักรู้ เป็นการแก้ปัญหาของปัจจัยด้านความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ และ 4. การบังคับใช้กฎหมาย เป็นการแก้ปัญหาของปัจจัยด้านการไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ และสภาพรถยนต์
บทคัดย่อ (อังกฤษ) The objectives of this research were to study factors contributing to car accidents and to determine guidelines for reducing the accidents. This research was the documentary research on car accidents. The data was collected from paper-based Thairath Newspapers from 2008 to 2017, by recording the number of cars, car types, and factors affecting car accidents. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, and mean. Then, the data acquired content analysis to find ways to reduce car accidents. The study found that from 2008 to 2017, there were a total of 3,805 vehicles of all car accidents. There were 1,389 passenger vehicles, followed by 1,277 cars. Most of the factors affecting accidents were the behavior of motorists, followed by the factors affecting physical accidents. As a result from the data analyses, the guidelines for reducing car accidents are as follows: 1. cultivating knowledge about self-defense and skills of motorists is a solution to the problem, 2. publicity of road safety information, especially information about road conditions, lighting and weather conditions, is a solution to the problem, 3. awareness-raising is a solution to the problem of motorists’ negligence, and 4. law enforcement is a solution to the problem caused by drivers’ non-compliance with traffic laws and their failure to take care of their vehicles’ condition.
ผู้แต่ง ศุุภชัย วาสนานนท์์
ดลฤดี
วาสนานนท์์
นนนน
วาสนานนท์์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.) 2021
ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) 2564
วารสาร วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีที่ : 41

ฉบับที่ : 5
หน้า 86-97
ประเภทเอกสาร บทความตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ประเภทของวารสาร ภายในประเทศ
คำสำคัญ แนวทางการลดอุบัติเหตุ; ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ; อุบัติเหตุทางรถยนต์
หมวดหมู่ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง; พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ; ทัศนคติของผู้ใช้รถใช้ถนน; การให้ความรู้และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์; จุดอันตรายและจุดเสี่ยง; เครื่องหมายและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย; ความปลอดภัยบริเวณข้างทาง (Roadside safety); การออกแบบและมาตรฐานความปลอดภัย ; กฎหมายจราจร; การวางแผนป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน; การวิเคราะห์ข้อมูลสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน
ภาษา ภาษาไทย
ลิงค์แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/252288
ไฟล์ดาวน์โหลด
อัพเดทล่าสุด 30 พฤษภาคม 2565